LONG COVID หายจากโควิดแล้วทำไมยังมีอาการอยู่?

หายจากโควิดแล้ว ทำไมยังมีอาการอยู่?

คลิกฟังเลย

” ทำไมหายจากโควิดแล้ว แต่ ยังมีอาการอยู่?”

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีการติดเชื้อโควิด อาการของผู้ป่วยจะดีขึ้นใน2-6สัปดาห์ หลายท่านคงนึกภาพเวลาที่เราป่วยจากไข้หวัดทั่วไป เวลาหายป่วย ชีวิตก็กลับเข้าสู่ภาวะปกติคือ ไม่มีอาการ แต่มีผู้ป่วยบางกลุ่ม ประมาณ50-80% ของผู้ที่ติดเชื้อและต้องนอนโรงพยาบาล หรือ 10-30% ของผู้ที่ติดเชื้อ แต่อาการไม่มากและไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยเหล่านี้ ยังคงมีอาการต่อเนื่อง นานมากกว่า1เดือนขึ้นไปนับจากวันที่ติดเชื้อ เรียกผู้ป่วยกลุ่มนี้ว่า โควิดแบบเรื้อรัง หรือ Long COVID บางคนมีอาการนานมากกว่า6เดือน รูปแบบของการเกิดอาการมีทั้งในแบบที่อาการครั้งแรกดีขึ้นแล้วแต่กลับมีอาการขึ้นมาอีก, มีอาการต่อเนื่องมาตั้งแต่มีอาการครั้งแรก หรือ ไม่มีอาการในครั้งที่มีติดเชื้อแต่กลับมามีอาการหลังจากที่เชื้อถูกจัดการไปแล้ว

โควิดแบบเรื้อรังมี อาการแบบไหน?

อาการที่ยังคงมีหลังจากหายจากการติดเชื้อแล้ว นั้นมีลักษณะที่หลากหลายรูปแบบ เกี่ยวพันกับหลายอวัยวะแบ่งออกเป็นกลุ่มดังนี้ 1. อาการทั่วไป : อ่อนเพลีย, หลับยาก, อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย

2. อาการทางปอด : หายใจไม่อิ่ม, เหนื่อยง่าย,ไอ, เจ็บอก

3. อาการทางหัวใจ: ใจเต้นแรง เต้นเร็ว, ลุกขึ้นแล้วหน้ามืด

4. อาการทางสอง: คิดอะไรไม่ออก, ไม่มีสมาธิ, การรับกลิ่นรับรสลดลง, ปวดหัว

10อาการที่พบบ่อย ก็คือ อ่อนเพลีย, หายใจไม่อิ่ม, ปวดกล้ามเนื้อ, ปวดข้อ, ปวดหัว, ไอ, เจ็บอก, รับรสรับกลิ่นลดลง, ท้องเสีย

ถึงแม้ว่า อาการจากโควิดที่เป็นแบบเรื้อรังนี้ มักพบตามมาในกลุ่มผู้ป่วยโควิดที่มีอาการรุนแรง แต่ก็สามารถพบได้ทั้งกลุ่มผู้ป่วยโควิดที่มีอาการเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงกลุ่มที่ไม่มีอาการจากการติดเชื้อโควิด ความเจ็บป่วยเรื้อรังจากเชื้อโควิดนี้ พบได้น้อยในเด็ก แต่ก็สามารถเกิดได้ในทุกช่วงอายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสก็จะพบมากขึ้นตามไปด้วย และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง2เท่า

การเจ็บป่วยเรื้อรังจากโควิด เกิดจากอะไร?

ปัจจุบันก็ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดอาการโควิดแบบเรื้อรัง จากข้อมูลที่ว่า โควิดแบบเรื้อรังนี้ สามารถเกิดกับผู้ป่วยทั้งที่มีอาการป่วยแบบรุนแรง, อาการน้อย หรือแม้กระทั้งกลุ่มคนที่ไม่มีอาการเลยในระยะแรกของการติดเชื้อโควิด สร้างความงุนงง ให้กับแพทย์และนักวิจัยทั่วโลก มีหลายแนวคิดที่พยายามอธิบายการเกิดภาวะนี้ โดยเชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัยทั้งทางด้านเจ็บป่วยทางกายและทางจิตใจร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น

1. ผลจากการติดเชื้อโควิด ได้แก่ ปฎิกริยาการอักเสบที่เคยเกิด ตอนที่ร่างกายพยายามกำจัดเชื้อโควิด ในช่วงแรก โดยปฎิกริยาการเกิดนี้มีความรุนแรงจนทำให้หลายอวัยวะถูกทำลาย เช่น หัวใจ, ปอด, สมอง, ไต, ลำไส้ และตับ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่หลากหลาย

2. หลังการหายจากการติดเชื้อโควิด อาจจะยังมี ชิ้นส่วนของโควิดหลงเหลืออยู่ และชิ้นส่วนนี้ ยังจะคอยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายอยู่เรื่อยๆ จนเกิดการอักเสบเรื่อยๆในระยะยาว

3. การทำลายอวัยวะต่างๆโดยตรงจาก เชื้อโควิด เช่น ปอด, กล้ามเนื้อหัวใจ, เยื่อบุผนังหลอดเลือด, สมอง, ลำไส้

2. ผลกระทบจากความครียดที่เกิดจากความเจ็บป่วยหนัก หลังจากการนอนโรงพยาบาล โดยเฉพาะหอผู้ป่วยหนัก มีการใช้เครื่องช่วยหายใจ สภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดความหวาดกลัว ทำให้เกิดความเครียดที่รุนแรง

3. ความเครียดจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ อาชีพการงาน

มีการตรวจที่บอกว่า ผู้ป่วยเป็น โควิดแบบเรื้อรังไหม?

ปัจจุบันยังไม่มี การตรวจทางห้องปฎิบัติการใดๆที่จะนำมาใช้บอกว่า ผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังจากโควิด หรือไม่ เพราะว่า อาการเรื้อรังจาก โควิด จะมีลักษณะอาการที่หลากหลาย ไม่จำเพาะ ดังนั้นการตรวจวินิจฉัยจึงขึ้นอยู่กับลักษณะอาการแสดงของแต่ละคน และเมื่อตรวจแล้ว พบว่าอาการนั้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคอื่น เช่น อาการเจ็บหน้าอก แต่แพทย์ตรวจแล้วพบว่าไม่ได้เป็นอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือโรคอื่นๆ อีกทั้ง ผู้ป่วยมีประวัติการการติดเชื้อโควิด และมีอาการที่ไม่จำเพาะอื่นๆร่วมด้วย จึงอาจจะสันนิษฐานว่า อาการเหล่านั้นเป็นผลจากการติดเชื้อโควิด

โควิดแบบเรื้อรัง ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถกลับไปทำงานหรือดำเนินชีวิตได้อย่างที่เคยทำ?

ปัญหาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือ การที่ผู้ป่วยไม่สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายให้กลับไปเท่ากับตอนก่อนมีการติดเชื้อ นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางกลุ่มยัง อวัยวะสำคัญของร่างกายถูกทำลายไปด้วย ทำให้ผู้ป่วยยังมีอาการดังต่อไปนี้ แม้จะหายจากการติดเชื้อไปแล้วก็ตาม เช่น 1.ปอดและหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย, แน่นหน้าอก, หายใจลำบาก 2.ลำไส้ ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน 3. สมอง ผู้ป่วยมีปัญหาความจำ, สมาธิในการทำงาน, การนึกคิดช้าลง

ที่สำคัญคือ อายุของผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการเรื้อรังจากโควิด เฉลี่ยประมาณ 40ปี ซึ่งเป็นวัยกำลังทำงาน ลองนึกภาพดูนะครับถ้าคนที่ปว่ย ไม่สามารถกลับไปทำงานได้, ไม่สามารถใช้ชีวิตแบบปกติได้, ไม่สามารถไปโรงเรียนได้ มีวิถีการใช้ชีวิตที่ต้องพึ่งพิงมากขึ้น สิ่งนี้อาจจะเป็นปัญหาใหม่ ที่รอภาครัฐแก้ปัญหาก็ได้นะครับ

สัญญาณเตือนว่า วัคซีนมีความจำเป็นต้องรีบฉีดในเด็ก

ถึงแม้ว่า การติดเชื้อโควิด ในเด็ก มักจะหายเอง อาการไม่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตก็ตาม แต่จากการรายงานที่ประเทศอังกฤษ UK office of National Statistic รายงานว่าเด็กที่มีการติดเชื้อโควิด และยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน พบว่ามีอาการเรื้อรังนานมากกว่า5สัปดาห์ หลังการติดเชื้อ โดยพบ 9.8% ในกลุ่มอายุ 2-11ปี และ 13% ในกลุ่มอายุ 13-16ปี อีกรายงานเป็นการติดตามเด็กที่ติดเชื้อโควิด จำนวน518คน พบว่า 1ใน4 ของเด็กเหล่านี้ มีอาการเรื้อรังนานมากกว่า5เดือน จากการติดเชื้อโควิด ไม่ว่าจะเป็นอาการอ่อนเพลีย, นอนไม่หลับ

ถึงแม้ว่าอาการเรื้อรังจากโควิดใน้ผู้ใหญ่จะพบมากกว่าในเด็ก 2เท่า แต่ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการได้รับวัคซีนโควิด ของประชากรเด็ก

นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม

ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ

คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์ไตเทียม

บางใหญ่ นนทบุรี

ชีวา
ศูนย์ไตเทียม
ศูนย์ไตเทียม
ชีวา
ชีวา