ก่อนอื่นทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่า การฉีดวัคซีน ไม่ได้เป็นการฉีดภูมิคุ้มกันเข้าไป ในตัวเรา แต่เป็นการ ทำให้ร่างกายรู้จักการสร้างภูมิคุ้มกันก่อนที่จะเจอ โควิดตัวจริง โดยวัคซีนจะทำหน้าที่เป็น โปรตีนที่เลียนแบบคล้ายชิ้นส่วนของ โควิด เมื่อเม็ดเลือดขาว พบเจอโปรตีนแปลกปลอมเหล่านี้ ก็จะสร้างภูมิคุ้มกัน ขึ้นมาจัดการ หลังจากนั้น เม็ดเลือดขาว ก็จะจดจำ โปรตีนของส่วนโควิดได้ จึงเท่ากับเป็นการ เตรียมซ้อมไว้ก่อน ที่จะเจอกับ โควิดตัวจริง
ฉีดวัคซีนตัวไหนดี?
วัคซีนโควิด ที่นำมาใช้ และจะนำมาใช้ในประเทศไทยตอนนี้ มี 3กลุ่ม
1 กลุ่ม ซิโนแวค และ ซิโนฟาร์ม ซึ่งใช้เชื้อโควิดที่ตายแล้วมากระตุ้นร่างกาย ผลิตโดยโรงงานของเอกชน และรัฐบาลจีน
2 กลุ่ม แอสตร้า เซเนก้า ที่ผลิตในอังกฤษ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ใช้ ไวรัสที่ก่อไข้หวัดในลิง มาเป็นตัวพา สารพันธุกรรมของ โควิด เข้าไปในเซลล์ของผู้รับวัคซีน เพื่อให้เซลล์นั้นสร้างโปรตีนที่เลียนแบบ โควิด
3. กลุ่ม ไฟเซอร์, โมเดอร์นา ที่ใช้หลักการ ฝาก สารทางพันธุกรรม(mRNA)ที่ใช้ในการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนหนึ่งของ โควิด ฝากไปกับสารที่เรียกว่า Nano particle นำพา mRNA นี้เข้าไปในเซลล์ของผู้ได้รับวัคซีน เพื่อให้เซลล์สร้างโปรตีนที่เลียนแบบ ชิ้นส่วนของ โควิด
วัคซีนตัวไหน ดีกว่ากัน การจะบอกว่าวัคซีนตัวไหนดีกว่า ก็ต้องดูทั้งที่ ประสิทฺธิภาพ (efficacy) ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบวัคซีนในการทดลองที่มีการควบคุมปัจจัยของผู้เข้ามารับการทดลอง ส่วน ประสิทธิผล (effectiveness) ซึ่งเป็นการติดตามผลการป้องกันโรคของวัคซีน เมื่อเอาไปใช้ในชีวิตจริง จึงเป็นการใช้วัคซีนในผู้คนที่มีความหลากหลายทั้งเชื้อชาติ,เพศ, อายุ และ การมีโรคประจำตัว ตลอดจน การเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ไวรัส ในขณะเวลานั้น ในบทความนี้จะขอพูดถึงเฉพาะประสิทธิภาพของวัคซีน
ในรูปบน จะเห็นว่า วัคซีนที่กำลังใช้ในประเทศไทย (ก.ค. 2564) คือ ซิโนแวค และ แอสต้า เซเนก้า มี ประสิทธิภาพในการลดจำนวนผู้ป่วยที่ติดเชิ้อ โควิด และมีอาการได้เพียง50-70% แต่ถ้าในอนาคตมีโควิดสายพันธ์ุที่รุนแรงขึ้น ประสิทธภาพก็จะยิ่งลดลงกว่านี้อีก ซิโนแวค ถึงแม้ว่าจะเป็นวัคซีนที่ได้รับรองให้ใช้ในสภาวะฉุกเฉิน โดย องค์กรอนามัยโลก แต่ระดับประสิทธิภาพก็ผ่านเกณฑ์แบบเฉียดฉิวคือ 50% ในขณะที่ กลุ่มวัคซีน mRNA มีประสิทธิภาพ เกือบ100%
คำว่า สัดส่วนของประสิทธิภาพ (%) ที่ได้จากการศึกษา ในที่นี้ หมายถึง การวัดจำนวนผู้ป่วย หรือ ผู้ที่ติดเชื้อ โควิด และมีอาการ ในกลุ่มที่ได้ฉีดวัคซีนชนิดนั้น มีจำนวนน้อยกว่า ผู้ป่วยที่เกิดขึ้นมาใน กลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนเลย กี่เปอร์เซนต์ เช่น วัคซีน ซิโนแวค ซึ่งมี ประสิทธิภาพ เพียง 50% ก็หมายความว่า มีผู้ป่วยที่เกิดขึ้นมาในกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน จำนวน100คน ส่วนกลุ่มที่ได้ฉีดวัคซีนชนิดนี้ จะพบผู้ป่วยน้อยกว่า50% คือ 50คน ในขณะที่ผู้ที่ได้รับวัคซีนในกลุ่ม mRNA เช่น ไฟเซอร์ ซึ่งมีประสิทธิภาพ ถึง 95% ก็จะพบผู้ป่วย5คน หรือ แทบจะไม่พบผู้ป่วยเลย
วัคซีนประสิทธิภาพต่ำ ก็แสดงว่า ไม่ดี?
คำถามนี้ ตอบได้ทั้ง ใช่ และไม่ใช่ ครับ!
การที่ องค์การอนามัยโลก ยินยอมให้ วัคซีน โควิด ที่มี ประสิทธิภาพจากการศึกษาในระยะที่3 แล้ว ตั้งแต่ 50% ขึ้นไป มีสิทธิเสนอขึ้นทะเบียนเป็น วัคซีนฉุกเฉินได้ ทั้งนี้เพราะว่า ถึงแม้ว่าวัคซีนที่มีประสิทธิภาพไม่สูง นี้ จะลดจำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด ได้น้อยกว่า วัคซีนตัวอื่นที่มีประสิทธิภาพดีกว่า แต่ในจำนวนผู้ที่ฉีดวัคซีนนี้ครบแล้วและมีอาการจากการติดเชื้อนั้น กลับพบว่า ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้ ไม่มีผู้ที่เสียชีวิต หรือ ป่วยรุนแรงเลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า วัคซีนที่แม้จะมีประสิทธิภาพไม่สูง ก็ยังสามารถช่วยชีวิตประชากรในยามที่โลกต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตินี้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือว่า การที่ประชาชนได้รับวัคซีนที่ประสิทธิภาพไม่สูงมากก็ยังดีกว่า ไม่ได้วัคซีนเลย
ผู้สูงอายุควรฉีดวัคซีนไหม แล้วจะปลอดภัยไหม?
ตอบว่า ต้องรีบฉีดเลยครับ!
สถานการณ์ โรคระบาด ในปัจจุบัน คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกแล้วหลายล้านคน โดยในจำนวนผู้ที่เสียชีวิตเกินครึ่ง เป็นผู้สูงอายุ แต่ก็ยังโชคดีที่ เราผลิตวัคซีนที่สามารถลดการตายได้อย่างชัดเจน เกือบ100% แม้แต่วัคซีนที่มีคุณภาพไม่สูงมาก ก็ยังลดการเสียชีวิตได้ดี ดังนั้น ถ้าถามว่า ผู้สูงอายุควรฉีดวัคซีนไหม ก็ต้องตอบว่า ควรรีบฉีดเลยครับ เพราะเมื่อเทียบกับผลประโยชน์จากการฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นตัวไหนก็ได้ที่ได้รับการรับรองจาก WHO ล้วนแล้วแต่ ช่วยลดการเสียชีวิตในผู้สูงอายุทั้งสิ้น ซึ่งประโยชน์นี้มีมากกว่า ความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงจากวัคซีนในระยะสั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพไม่สูงมากก็ตาม
แต่ถ้าประชาชนเลือกได้ การเลือกวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงก็ย่อมดีกว่า เพราะเป้าหมายของวัคซีนนอกจากจะหวังให้วัคซีนช่วยลดการตายและการป่วยที่รุนแรงแล้ว วัคซีนที่ดีจะยังต้องช่วยลดการแพร่เชื้อได้อีกด้วย หมายถึงว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบแล้ว ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นก็ควรที่จะป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อตั่งแต่ในโพรงจมูกได้อีก ซึ่งก็เริ่มมีการศึกษาและผลเบื้องต้นมีแนวโน้มที่ดีออกมาว่า วัคซีนในกลุ่มmRNA เช่น ไฟเซอร์สามารถลดการแพร่เชื้อได้ ถึง50% medRxiv
ฉีดวัคซีนทั่วประเทศแล้ว เราจะทิ้งหน้ากาก เปิดประเทศได้ไหม?
เราจะกลับไปใช้วิถีชิวิตแบบเดิมๆได้ เมื่อสังคมเราได้ยกระดับเป็น สังคมที่มีภูมิคุ้มกันหมู่ ( Herd immunity)
อีกเป้าหมายหนึ่งของการฉีดวัคซีน โควิด ก็คือ การหยุดยั้งการแพร่กระจายของเชื้อโรค ซึ่งการที่จะหยุดยั้งได้ คือ คนส่วนใหญ่ของชุมชนหรือ ประเทศนั้นๆ ต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดี อาจจะต้องมีมากถึง80-90% ที่เรียกว่า ภูมิคุ้มกันหมู่ ในรูปบน ประชากรส่วนใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกันที่ดี จะไม่รับเชื้อ และไม่แพร่เชื้อไปให้ คนใกล้เคียง ทำให้คนใกล้เคียงถึงแม้ว่าจะไม่มีภูมิคุ้มกันก็ยังคงปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด
การที่ประเทศเราจะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ได้ ขึ้นอยู่กับ3ปัจจัย ได้แก่
- วัคซีนที่ฉีดมีประสิทธิภาพสูงพอในการสร้างภูมิคุ้มกันที่สามารถลดการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อได้
- การกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด
- อัตราเร็วในการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมได้มากที่สุด
ที่มาของข้อมูล
- https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/covid-19-vaccines/advice
- https://www.statista.com/chart/23510/estimated-effectiveness-of-covid-19-vaccine-candidates/
- https://www.who.int/news-room/feature-stories/detail/vaccine-efficacy-effectiveness-and-protection
- https://www.bbc.com/thai/thailand-56227686
- https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2021.07.13.21260393v1
นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม
ชีวา คลินิกกายภาพบำบัด
ชีวา ศูนย์ฟื้นฟูและดูแลผู้สูงอายุ
บางใหญ่ นนทบุรี
เวปไซด์ ชีวา www.chewa.co.th
เดินทางมา ชีวา https://goo.gl/maps/CgcGgE6uieUn1naM9
คุยกับเรา ชีวา https://lin.ee/k8UqBKr
โทร ได้ทุกวัน 0909250096 0969088890
ชีวา เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ ตั้งอยู่ใน ซอยกันตนา ใกล้ โรงพยาบาลบางใหญ่ อำเภอ บางใหญ่ นนทบุรี
การบริการประกอบไปด้วย
1 ศูนย์พักฟื้น และ ดูแลผู้สูงอายุ ทั้งแบบพักรายเดือน และ รายวัน เหมาะสำหรับ ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยที่ต้องการการ ดูแลทางการพยาบาล, ทำกายภาพบำบัด หลังอัมพาต หรือ ผ่าตัดข้อ กระดูก, รอฟอกไตทางหลอดเลือด , ดูแลการล้างไตทางหน้าท้อง
2 ศูนย์ฟื้นฟูอัมพาตและ คลินิกกายภาพบำบัด สำหรับผู้ป่วยอัมพาต ที่ต้องการการทำกายภาพแบบเข้มข้น รายเดือน หรือ ทำกายภาพบำบัดแบบไปกลับ
3 ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต โดยผู้ป่วยที่ใช้สิทธิประกันสังคม หรือ บัตรทอง ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการฟอกไต ส่วนการผ่าตัดเส้นฟอกไต โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านหลอดเลือด ผู้ป่วย บัตรทอง ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเส้นฟอกไต ส่วน ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม สามารถเบิกค่าผ่าตัดเส้นฟอกไตได้ตามสิทธิ
4 คลินิกโรคหัวใจ ตรวจรักษาโดย อายุรแพทย์หัวใจและหลอดเลือด
Key word
ชีวา , ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ , ศูนย์ไตเทียม , ศูนย์ฟอกไต , ไตวาย , ฟอกไตไม่เสียค่าใช้จ่าย , คลินิกกายภาพบำบัด , คลินิกโรคหัวใจ , คลินิกกายภาพบำบัด , ฟอกไตทางหลอดเลือด , ล้างไตทางหน้าท้อง, ทำเส้นฟอกไต , ฟอกไตบัตรทอง, คลินิกผ่าตัดเส้นฟอกไต, อัมพาต