Ep32 อัมพาต:ท่าเดินผิดปกติ อันตรายกว่าที่คิด

อัมพาต:ท่าเดินผิดปกติ อันตรายกว่าที่คิด

เมื่อไหร่ ผมจะเดินได้? เป็นคำถามที่ถูกถามบ่อยจาก ผู้ป่วยอัมพาต ที่มีแขนขาซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรงจนไม่สามารถพาตัวเองเดินไปไหนมาไหนได้ การเดินหมายถึงอิสรภาพของผู้ป่วย และ การที่ไม่ต้องเป็นภาระกับคนรอบข้าง ถึงแม้ว่า ผู้ป่วยอัมพาต ที่ยังคงมีปัญหาของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเดิน แต่ผู้ป่วยจะปรับตัวเองให้สามารถเดินได้ แต่ก็เดินด้วยท่าเดินที่ไม่ปกติเหมือนเดิม ซึ่งพบได้มากถึง80% ในผู้ป่วยอัมพาต หลายคนอาจจะมองข้ามความสำคัญของท่าทางในการเดินที่ผิดปกตินี้ แต่ไม่น่าเชื่อนะครับว่า การเดินที่ผิดปกติจะมีผลแทรกซ้อนตามมามากมาย

กายภาพบำบัด สามารถแก้ไขให้ผู้ป่วยกลับมาเดินในท่าที่ปกติได้ ยิ่งผู้ป่วยที่รีบมารับการฟื้นฟูแก้ไขโดย นักกายภาพบำบัด ตั้งแต่ในระยะแรกที่เป็น อัมพาต ยิ่งมีโอกาสสูงที่จะประสบความสำเร็จในการฟื้นฟู อย่ารอโอกาสดีๆแบบนี้ให้ผ่านไปนะครับ

ท่าเดินปกติ เป็นยังไง?

อัมพาต:ท่าเดินผิดปกติ อันตรายกว่าที่คิด

ก่อนจะรู้จักท่าเดินที่ผิดปกติใน ผู้ป่วยอัมพาต ผมขอเล่าถึงการก้าวแต่ละก้าวของคนปกติกันก่อน อาจจะดูซับซ้อนบ้างนะครับ

สังเกตุรูปด้านบน เฉพาะขาซ้าย(สีแดง) การเดินแต่ละก้าวของคนเรา แต่ละรอบ แบ่งเป็น2ช่วงคือ 1. ช่วงเท้าแตะพื้นรับน้ำหนัก (Stance phase) และ 2. ช่วงเท้ายกลอยจากพื้น(Swing phase)

ช่วงที่1 เริ่มจาก เท้าซ้ายแตะพื้นด้วยส้นเท้า(หมายเลข1ในรูปบน) ตามด้วย เท้าซ้ายเหยียบเต็มฝ่าเท้า (หมายเลข2-3ในรูปบน) ต่อมาจึง ยกส้นเท้าแต่ปลายเท้ายังแตะพื้น หลังจากนั้น ปลายเท้าจึงถูกยกขึ้น (หมายเลข4-5ในรูปบน) ต่อจากนั้นก็จะเข้าสู่ ช่วงที่2 (หมายเลข6ในรูปบน)เริ่มโดย เท้าซ้ายที่ยกขึ้นมาก็จะแกว่งไปด้านหน้า และเข้าสู่ช่วงที่1ของการเดินอีกครั้ง ส่วนขาด้านขวา ก็จะทำงานสอดประสานกับขาซ้าย

ข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยว่า ผู้ป่วยมีท่าเดินที่ผิดปกติ หรือไม่ โดยเฉพาะนักกายภาพบำบัด ซึ่งจะช่วยให้นักกายภาพบำบัด วางแผนการฟื้นฟูได้ถูกต้อง

ทำไม ผู้ป่วยอัมพาต จึงเดินด้วยท่าที่ผิดปกติ?

อัมพาต:ท่าเดินผิดปกติ อันตรายกว่าที่คิด

ผู้ป่วยอัมพาต มักจะมีการอ่อนแรงของแขนขาซีกใดซีกหนึ่ง ในรูปบน ผู้ป่วยอ่อนแรงแขนขาขวา ผู้ป่วยที่มีการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อบางส่วน จนพอที่จะยืนได้ แต่กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเดินยังมีปัญหาทั้งการอ่อนแรงและการหดเกร็ง ทำให้การใช้กล้ามเนื้ออย่างประสานกันของกล้ามเนื้อแต่ละมัดที่ใช้ในการเดินโดยปกติ ไม่สามารถทำได้

การก้าวเดิน โดยปกติเริ่มที่การกระดกเท้า ใช้ ส้นเท้า แตะพื้น แต่ผู้ป่วยไม่สามารถ กระดกเท้าได้ (ปลายเท้าตก หรือ foot drop) และมีเข่าที่เหยียดออก ซึ่งเกิดจากปัญหาทั้ง การอ่อนแรง และการหดเกร็ง(spasticity) ของกล้ามเนื้อขา ทำให้เวลาก้าวเดิน ผู้ป่วยไม่สามารถยกปลายเท้าให้พ้นพื้นได้ ผู้ป่วยจึงต้องปรับตัวโดยใช้ กล้ามเนื้อสะโพกในการเหวี่ยงข้อสะโพกออกไปด้านข้าง (hip circumduction) เพื่อให้ปลายเท้าพ้นพื้นและก้าวไปข้างหน้าได้

อัมพาต:ท่าเดินผิดปกติ อันตรายกว่าที่คิด

ในภาพบน แสดง ตัวอย่างการเดิน ของผู้ป่วยอัมพาตที่มีแขนขาด้านซ้ายอ่อนแรง จึงมารับการฟื้นฟู เพื่อ แก้ไขเรื่องท่าการเดิน(gait)ให้ถูกต้อง ที่ ชีวา คลินิกกายภาพบำบัด

ปัญหาหลักๆที่ตามมาจากการเดินในท่าที่ผิดปกตินี้ ก็คือ

การล้ม จากการที่ผู้ป่วยมีท่าเดินที่ผิดปกติ ไม่สมดุล ประกอบกับ ผู้ป่วยอัมพาตยังมีปัญหาการทรงตัว, กล้ามเนื้ออ่อนแรงและลีบเล็ก การล้ม จึงพบได้มากในผู้ป่วยหลังอัมพาต มีทั้ง เกิดกระดูกหัก โดยเฉพาะ ข้อสะโพกหัก, สมองบาดเจ็บ ไปจนถึง ผลกระทบทางจิตใจ เกิดการหวาดกลัวการล้ม ไม่กล้าที่จะเดิน หรือทำกายภาพบำบัด ยิ่งทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเดิน การทรงตัวอ่อนแรงมากยิ่งขึ้น

การเดินผิดปกติทำให้ การถ่ายน้ำหนักลงขาสองช้างไม่เท่ากัน เกิดปัญหา ข้อเสื่อมเร็วกว่าปกติทั้งข้อเข่าและข้อสะโพก ปวดข้อ, เท้าผิดรูป

ผู้ป่วยยังคงไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ ยังต้องพึ่งพิงคนรอบข้าง การเคลื่อนไหวที่ช้าลง ยังมีผลต่อ กระดูกบางมากขึ้น(osteoporosis), กล้ามเนื้ออ่อนแรง, สมรรถภาพร่างกายถดถอย ตามมาด้วย การควบคุม เบาหวาน, ความดันโลหิตที่ยากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และ โรคอัมพาตซ้ำ

ดังนั้นการเข้าโปรแกรม เพื่อฟื้นฟู แก้ไข ภาวะท่าเดินที่ผิดปกตินี้ โดยนักกายภาพบำบัด จึงสำคัญมาก โดยเฉพาะใน3เดือนแรกที่เป็นอัมพาต เพราะการเริ่ม กายภาพบำบัดที่เร็ว ย่อมทำให้ผู้ป่วยมีโอกาส ที่จะหายจากท่าเดินที่ผิดปกตินี้

อย่าปล่อยโอกาสทองนี้ ให้ผ่านเลยไปนะครับ!

นักกายภาพบำบัดประจำ

ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ

คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์ฟอกไตประสิทธิภาพสูง และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต

ชีวา
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดุแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
คลินิกกายภาพบำบัด
ล้างไตทางหน้าท้อง
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ผ่าตัดเส้นฟอกไต บัตรทอง
ผ่าตัดเส้นฟอกไตประกันสังคม
ชีวา
ชีวา
ศูนย์ไตเทียม

เวปไซด์ ชีวา www.chewa.co.th

เดินทางมา ชีวา  https://goo.gl/maps/CgcGgE6uieUn1naM9

คุยกับเรา ชีวา   https://lin.ee/k8UqBKr

ชีวา  เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ ตั้งอยู่ใน ซอยกันตนา  ใกล้ โรงพยาบาลบางใหญ่  บางใหญ่ นนทบุรี    

      การบริการประกอบไปด้วย

                  ศูนย์พักฟื้น และ ดูแลผู้สูงอายุ  แบบพักรายเดือน และ รายวัน  เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยที่ต้องการการ ดูแลทางการพยาบาล, ทำกายภาพบำบัด, รอฟอกไตทางหลอดเลือด , ดูแลการล้างไตทางหน้าท้อง 

                 ศูนย์ฟื้นฟูอัมพาตและ คลินิกกายภาพบำบัด  สำหรับผู้ป่วยอัมพาต ที่ต้องการการทำกายภาพแบบเข้มข้น         

                 ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต  โดยผู้ป่วยที่ใช้สิทธิประกันสังคม หรือ บัตรทอง ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการฟอกไต ส่วนการผ่าตัดเส้นฟอกไต โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านหลอดเลือด  ผู้ป่วย บัตรทอง ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเส้นฟอกไต  ส่วน ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม สามารถเบิกค่าผ่าตัดเส้นฟอกไตได้ตามสิทธิ  

             คลินิกโรคหัวใจ  ตรวจรักษาโดย อายุรแพทย์หัวใจและหลอดเลือด

Key word

ชีวา , ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ , ศูนย์ไตเทียม , ศูนย์ฟอกไต , ไตวาย , ฟอกไตไม่เสียค่าใช้จ่าย ,  คลินิกกายภาพบำบัด , คลินิกโรคหัวใจ , คลินิกกายภาพบำบัด , ฟอกไตทางหลอดเลือด , ล้างไตทางหน้าท้อง, ทำเส้นฟอกไต , ฟอกไตบัตรทอง, คลินิกผ่าตัดเส้นฟอกไต, อัมพาต