Ep31 รู้ได้อย่างไรว่า อัมพาตดีขึ้น?

อัมพาต ดีขึ้นไหม รู้ได้อย่างไร

เมื่อไหร่ ผู้ป่วยอัมพาตถึงจะหาย? เป็นคำถามแรกที่ผู้ป่วยอยากรู้ ใช่ครับ! ไม่มีใครตอบได้ เพราะผู้ป่วยแต่ละคน มีระยะเวลาในการหายที่หลากหลาย ตั้งแต่เป็นวัน ไปจนถึงหลายๆปี หรือเป็นอัมพาตแบบถาวร ทั้งนี้เป็นเพราะผู้ป่วยแต่ละคนมีความรุนแรงของรอยโรคแตกต่างกัน เข้าถึงการฟื้นฟูโดย นักกายภาพบำบัด หรือไม่ การอดทน หมั่นทำกายภาพบำบัด ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เวลาในการฟื้นตัวต่างกันในแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตาม ญาติหรือผู้ป่วยสามารถสังเกตตัวเองที่บ้านได้ว่า โรคอัมพาตที่เป็นอยู่มีแนวโน้มทิศทางที่ดีขึ้นหรือไม่? ทั้งนี้เพราะว่า ผู้ป่วยอัมพาตส่วนใหญ่ จะมีรูปแบบขั้นตอนการฟื้นตัวคล้ายกัน โดยขั้นตอนการดำเนินโรคนี้ จะแบ่งออกเป็น7ระยะ ตั้งแต่เริ่มเกิดอาการอัมพาต จนถึง ขั้นที่ผู้ป่วยหายจากการเป็นอัมพาต รูปแบบการฟื้นตัว 7ระยะนี้ ก็เปรียบเสมือนแผนที่ หรือ Time line เพื่อใช้บอกว่า อาการผู้ป่วยตอนนี้ กำลังอยู่ในช่วงไหนของการฟื้นตัว แต่ก็ไม่ใช่ว่าผู้ป่วยทุกคนต้องผ่านขั้นตอนนี้เหมือนกันทุกคน เช่น ระยะเวลาที่ผู้ป่วยเป็นในแต่ละขั้นมีระยะเวลาต่างกัน, ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่ได้เกิดครบทั้ง7ขั้นตอน

ผู้ป่วยอัมพาตไม่ว่าจะเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือ แตก อาการหนึ่งที่สำคัญ คือ อาการแขนขาซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง หลังจากที่เกิดการอ่อนแรงแล้ว แขนขาที่อ่อนแรงนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงถึง7ขั้นตอนกว่าที่แขนขาที่อ่อนแรงจะกลับมาทำงานได้ปกติสมบรูณ์ ขั้นตอนทั้ง7นี้ ผมเปรียบเสมือนกับการเดินขึ้นภูเขา ตั้งแต่เริ่มเป็นอัมพาต การดำเนินโรคก็จะดูเหมือนจะ แย่ลงมากเหมือนการเดินขึ้นยอดเขา แล้วหลังจากนั้น ก็จะค่อยๆดีขึ้น จนหายเป็นปกติ คล้ายการเดินลงจากภูเขา ระยะเวลานการเดินขึ้นลงจากภูเขาก็แตกต่างกันในแต่ละคน ตั้งแต่เป็นวัน ไปจน เป็นปี บางคนก็อาจจะติดบนภูเขาลงมาไม่ได้ นั้นก็คือ การเป็นอัมพาตแบบเรื้อรัง หรือแบบถาวร

อัมพาต ดีขึ้นไหม รู้ได้อย่างไร?

ระยะที่1 ระยะที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง

ระยะนี้แขนขาผู้ป่วยจะขยับไม่ได้เลย และกล้ามเนื้อก็จะค่อยๆฝ่อลีบลง เป็นเพราะเส้นทางการสั่งงานจากสมองมายังกล้ามเนื้อถูกตัดไป ในระยะนี้นักกายภาพบำบัดจะช่วยผู้ป่วยด้วยการ ขยับเคลื่อนไหวแขนขาที่อ่อนแรงให้ อย่างถูกวิธี เน้นนะครับว่า ต้องทำอย่างถูกวิธี ที่เรียกกันว่า Passive Exercise

ถามว่า ทำไมต้องทำด้วย? สำคัญมากเลยนะครับ เพราะทุกครั้งที่ นักกายภาพบำบัด เคลื่อนไหวแขนขาให้ ถือว่าเป็นการกระตุ้นสมอง ที่เรียกกันว่า Neuroplasticity ไม่ว่าจะเป็นการส่งกระแสประสาทส่วนการรับรู้ สัมผัสกลับไปที่สมอง รวมไปถึงการที่ผู้ป่วยมองเห็น การเคลื่อนไหวของแขนขา ล้วนแต่เป้นการกระตุ้นให้สมองกลับมาเรียนรู้ใหม่ สมองจะมีการสร้างสายใยประสาทในส่วนที่เรียนรู้ใหม่นี้ขึ้นมา เช่นเดียวกับการกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า ในระดับความแรงที่เพียงพอ ที่สามารถช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ใหม่นี้ การกระตุ้นไฟฟ้า ยังช่วยเรื่องกล้ามเนื้อฝ่อลีบได้อีกด้ว รวมไปถึง การจัดท่านอนของผู้ป่วยในระยะนี้ก็มีความสำคัญ

อัมพาต ดีขึ้นไหม รู้ได้อย่างไร?

ระยะที่2 กล้ามเนื้อเริ่มมีการหดตัวหรือขยับเอง

ระยะที่การเชื่อมต่อของสมองกับกล้ามเนื้อเริ่มกลับขึ้นมา ทำให้เริ่มเกิดการสั่งการของสมอง ในที่นี้มิได้หมายถึงเนื้อสมองที่ตายไปฟื้นคืนชีพขึ้นมานะครับ ในภาพข้างล่างแสดง เนื้อสมองส่วนตัดขวาง ช่วงแรกที่เกิดภาวะ หลอดเลือดสมองอุดตัน เนื้อสมองส่วนที่ขาดเลือดภายใน6ชั่วโมง เนื้อสมองก็จะตายแบบไม่สามารถกู้ฟื้นคืนได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาแบบเร่งด่วน เช่น ยาสลายลิ่มเลือด แต่ยังมีเนื้อสมองบริเวณรอบเนื้อสมองส่วนที่ตายไปที่กำลังจะตาย เมื่อร่างกายมีการปรับตัวให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนนี้มากขึ้น สมองส่วนนี้ก็จะฟื้นกลับมาทำงานได้ อีกทั้งกระบวนการกระตุ้นการเรียนรู้ใหม่ของเนื้อสมอง Neuroplasticity ที่ช่วยให้ผู้ป่วยอัมพาตมีอาการที่ดีขึ้น

การเริ่มเชื่อมต่อสายใยประสาทในระยะนี้ยังไม่สมบรูณ์ การสั่งงานสมองจึงยังทำไม่ได้ดี ทำให้กล้ามเนื้อแต่ละมัดที่มีการเคลื่อนไหวเอง ไม่ประสานกัน โดยที่ผู้ป่วยบังคับไม่ได้ การทำกายภาพแบบ Passive exercise จึงยังเป็น วิธีหลักในการฟื้นฟูในระยะนี้

อัมพาต ดีขึ้นไหม รู้ได้อย่างไร?

ระยะที่3 ระยะที่มีการหดเกร็งมากที่สุด

เป็นระยะที่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างมาก (spasticity) ก่อให้เกิดอาการปวด และเกิดการเกร็งของข้อที่แขนและขา ส่งผลให้ ท่าเดินหรือการทรงตัวที่ผิดปกติ ทำให้ยากลำบากในการใช้ชีวิตมากขึ้น แต่เหล่านี้ เป็นสัญญาณของการฟื้นตัว มีการเชื่อมต่อสายใยประสาทที่แข็งแรงขึ้น ผู้ป่วยจึงต้องอดทน ปรึกษานักกายภาพบำบัด เพื่อแก้ไขการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ระยะนี้จึงเปรียบเสมือนเราปีนขึ้นภูเขาจะถึงจุดยอดเขาแล้ว กำลังจะผ่านไปสู่การฟื้นตัวที่ดีขึ้น นักกายภาพจะมีเทคนิคและอุปกรณ์ช่วยเหลือเรื่องการหดตัวของกล้ามเนื้อนี้

ระยะที่4 ระยะที่มีการหดตัวลดลง

เป็นระยะที่ ผู้ป่วยเริ่มควบคุมกล้ามเนื้อได้มากขึ้น แม้จะยังเจอปัญหาการควบคุมให้กล้ามเนื้อแต่ละมัดให้ทำงานสอดคล้องกัน เปรียบเสมือน ผู้ป่วยได้ผ่านจุดที่ยากลำบากที่สุด กำลังเดินลงจากยอดเขา นักกายภาพบำบัด ก็จะวางแผนการฝึกกล้ามเนื้อมัดที่มีปัญหาในต่ละคน กล้ามเนื้อที่จะดีขึ้นก่อนก็จะเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ เช่นลำตัว และขา ตามมาด้วย กล้ามเนื้อ แขน และ กล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่นกล้ามเนื้อมือ

ระยะที่5 การทำงานกล้ามเนื้อที่ซับซ้อนทำได้ดีขึ้น

ระยะนี้ ผู้ป่วยจะควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อให้ประสานกันได้ดี เช่น การหวีผม, การจับช้อน ระยะนี้จึงเป็นระยะที่มีการฝึกการใช้กล้ามเนื้อเพื่อสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้

ระยะที่6 การหดตัวของกล้ามเนื้อหายไป

ระยะนี้ การหดเกร็งของกล้ามเนื้อจะหมดไป ทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมการทำงานได้ดีขึ้นมาก เรียกว่า ใกล้ถึงเส้นชัยแล้ว

ระยะที่7 การฟื้นตัวอย่างสมบรูณ์

ระยะที่ผู้ป่วยสามารถใช้งานแขนขาได้อย่างใกล้เคียงปกติที่สุด คุณได้เข้าเส้นชัยในที่สุด ผู้ป่วยแต่ละคนใช้เวลาในการที่จะผ่านแต่ละระยะ ไม่เท่ากัน แต่จะนานแค่ไหน ขอให้อดทน แม้ว่าจะต้องใช้เวลาเป็นปีๆก็ตาม เพราะว่า สมองของเรา มีความมหัศจรรย์ และไม่เคยยอมแพ้ครับ

นักกายภาพบำบัดประจำ

ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ

คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์ฟอกไตประสิทธิภาพสูง และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต

ชีวา
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดุแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
คลินิกกายภาพบำบัด
ล้างไตทางหน้าท้อง
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ผ่าตัดเส้นฟอกไต บัตรทอง
ผ่าตัดเส้นฟอกไตประกันสังคม
ชีวา
ชีวา
ศูนย์ไตเทียม