ผมเป็นออฟฟิศ ซินโดรมหรือยัง? อยากหายทำไง!
ในสังคมยุคดิจิตอล คนอยู่หน้าจอมือถือ จอคอมพิวเตอร์ กันแทบจะทั้งวัน …ทั้งคืน
โรค ออฟฟิศ ซินโดรม เป็นโรคสามัญประจำบ้าน ไปแล้วนะค่ะ
ความทรมานจากโรคนี้ ก็คือ การปวดเรื้อรังโดยเฉพาะ ปวด คอ บ่า ไหล่ บางคนปวดมากจนนอนไม่ได้ ขยับก็ปวด แต่ก็ยังโขคดีอย่างนะค่ะว่า โรคนี้จัดการได้ด้วย ศ่าสตร์ทางกายภาพบำบัด
ถาม แล้วจะรู้ได้ไงว่าผมเป็น โรคนี้ ?
ตอบ ผู้ป่วยโรคนี้ มักจะมี อาการปวด โดยเฉพาะ ปวด คอ บ่า ไหล่ นักกายภาพบำบัดก็จะทำการตรวจประเมินเพื่อแยกโรคต่างๆ เนื่องจากอาการปวดอาจจะไม่ได้มาจากกล้ามเนื้ออย่างเดียว เช่นโรคกระดูกสันหลัง หรือ หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม โดยจะเริ่มตั้งแต่การซักประวัติ พฤติกรรมความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ ลักษณะอาการปวด หรือ อาการร่วมอื่นๆ ตรวจร่างกาย ดูความยาว ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ องศาการเคลื่อนไหว หาจุดกดเจ็บ(Trigger point)ภายในกล้ามเนื้อ รวมไปถึง การตรวจ เอกซ์เรย์ กระดูกกระดูกสันหลัง เพื่อทำการแยกโรค
ถาม ผมจะหายไหมครับ?
ตอบ เป้าหมายหลักของการรักษาคือ ลดอาการปวดโดยการคลายปมกล้ามเนื้อ หรือสลายจุดกดเจ็บซึ่งสามารถทำได้หลายทางดังนี้นะค่ะ
เครื่องมือทางกายภาพบำบัด ได้แก่เครื่อง อัลตราซาวนด์ ร่วมกับการ กระตุ้นด้วยไฟฟ้า เพื่อคลายการเกร็งตัวของปมกล้ามเนื้อและจุดกดเจ็บ และ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด
มือของนักกายภาพบำบัด (manual therapy) การนวดที่ถูกต้อง จะช่วยให้กล้ามเนื้อ และจุดกดเจ็บเหล่านั้นเกิดการคลายตัว รวมไปถึงช่วยให้ ยืดเหยียดของข้อหรือกล้ามเนื้อบริเวณนั้นทำได้มากขึ้น เช่นวิธีการ deep friction คลายปมกล้ามเนื้อ , การ mobilization บริเวณข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้น้อย เป็นต้น
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่กลับมาเป็นอีก นั่นก็คือการ ปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรคนี้ จัดตำแหน่งที่นั่งทำงานให้เหมาะสม ปรับที่นอน ปรับหมอนให้เหมาะสม ร่วมกับ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายในท่าที่ถูกต้องของกล้ามเนื้อที่มีปัญหานั้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ ผู้ป่วยไม่กลับมาเป็นอีกค่ะ
ถาม ผมไปนวดตามร้านนวดทั่วๆไปจะช่วยไหมครับ?
ตอบ การนวดเพื่อการผ่อนคลาย อาจจะช่วยให้รู้สึกดีในช่วงสั้นๆ จากนั้นอาการปวดก็จะกลับมาอีก ในบางคนกลับปวดมากขึ้นด้วยซ้ำ เพราะการนวดที่ไม่ถูกต้อง สามารถทำให้กล้ามเนื้อกลับบอบช้ำมากขึ้น เช่น กดไปบริเวณที่ปวดซ้ำๆ ใช้เท้าขึ้นเหยียบหรือใช้ศอกกด ซึ่งเป็นท่าที่อาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบซ้ำไปมากกว่าเดิมได้
ถาม แล้วผมเป็นมากแค่ไหนถึงควรมาพบนักกายภาพบำบัด?
ตอบ เมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดเรื้อรัง เช่น มีบริเวณที่ปวดขยายไปส่วนอื่นๆของร่างกาย และอาการปวดนั้นรบกวนการทำงาน หรือ การใช้ชีวิตประจำวัน ก็ควรเข้ามาปรึกษานักกายภาพบำบัดเพื่อหาสาเหตุและวางแผน
นักกายภาพบำบัดประจำ
ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี