แขนขาหดเกร็งในผู้ป่วยอัมพาต

ผู้ป่วยอัมพาต หลายๆคน มักจะประสบปัญหา หลังจากเกิดอัมพาตมาได้สักระยะเวลาหนึ่ง คือกล้ามเนื้อในส่วนที่เคยอ่อนแรง กลับมีการหดตัว เกร็งตัวขึ้นมา และมักจะมีอาการปวดร่วมด้วย  อาการผิดปกตินี้ ไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยอัมพาตทุกคน แต่จะพบได้  30คน ในผู้ป่วยอัมพาต100 คน

 การหดตัวของกล้ามเนื้อที่เพิ่มมากขึ้นนี้ เป็นผลมาจากการเกิดอัมพาต เพราะ ในช่วงที่เกิดอัมพาตนั้น สมองไม่สามารถสั่งการทำงานมายังกล้ามเนื้อส่วนนี้ได้   พอผ่านมาระยะหนึ่ง กล้ามเนื้อเริ่มมีการหดตัวเอง เราจึงเห็นการเกร็งตัวหรือ การหดรั้ง ขึ้นมาเอง ของกล้ามเนื้อบริเวณแขน หรือขา  ที่เคยอ่อนแรง  โดยเราจะสังเกตเห็นได้ว่า   แขนผู้ป่วยจะมีลักษณะหดงอ ตามข้อต่างๆ คือ หัวไหล่หมุนเข้าลำตัว  ข้อศอกงอเข้าหาตัว ข้อมืองอ และมือติดอยู่ในท่ากำ ขาจะมีลักษณะเกร็งเหยียด คือ ขาบิด เข่าเหยียด และปลายเท้าเหยียดจิกลง (foot drop) นิ้วจิก (claw toe)

แขนขาหดเกร็งในผู้ป่วยอัมพาต
ภาพแสดงการหดตัวของแขนขาที่อ่อนแรงด้านซ้าย

ลักษณะหดเกร็ง ดังกล่าวนี้ยอมส่งผลให้  ผู้ป่วยดำเนินชีวิตประจำวันด้วยตัวเองยากลำบากขึ้น  ไม่ว่าจะเป็น การหยิบจับสิ่งของ,  การเอื้อมมือ ยกแขน,  การเดิน ก้าวขา ที่ยากลำบาก  ทำให้มีความเสี่ยงต่อการล้มเพิ่มขึ้น

           การปล่อยให้ปัญหาเหล่านี้ ดำเนินต่อไปโดยไม่ได้รับการแก้ไข ย่อมส่งผลเสียต่อผู้ป่วยทั้งในระยะสั้นและ ระยะยาว   การแก้ไข ด้วย ศาสตร์ทางกายภาพบำบัด เป็นวิธีเดียวที่จะช่วยผู้ป่วยได้ ยิ่งแก้ไขเร็ว โอกาสประสบความสำเร็จก็จะสูงขึ้น โดยหลักการของ กายภาพบำบัด ก็คือ ลดการเกร็งตัวและสร้างความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อส่วนนั้น เพื่อ เตรียมพร้อมในการฝึก กล้ามเนื้อในขั้นที่สูงขึ้น 

กระบวนการฟื้นฟูทางการทางกายภาพบำบัด สำหรับปัญหานี้ ได้แก่

แขนขาหดเกร็งในผู้ป่วยอัมพาต
ภาพแสดงการตัดท่าการนอนในผู้ป่วยอ่อนแรงแขนขาด้านซ้าย

การจัดท่าทาง (positioning) ในท่านอน แขนข้างอ่อนแรงจัดอยู่ในลักษณะเหยียดออก จัดให้มืออยู่สูงกว่าศอก และศอกวางสูงกว่าข้อไหล่ ใส่ผ้าขนหนูผืนเล็กหรือลูกบอลมาใส่ไว้ในมือเพื่อป้องกันการหดเกร็งในท่ากำ ขาข้างอ่อนแรงให้มีหมอนหนุนใต้สะโพกเพื่อป้องกันขาหมุนออกทางด้านข้าง

การยืดกล้ามเนื้อ (stretching exercise) เป็นวิธีการใช้จัดการกับกล้ามเนื้อที่มีความตึงตัวสูง หดเกร็งมาเป็นระยะเวลานานจนกระทั่งความยาวของกล้ามเนื้อหดสั้นลง โดยจะจัดท่าทางของผู้ป่วยให้อยู่ในท่าสบาย และยืดกล้ามเนื้อแต่ละมัดที่มีอาการหดเกร็งค้างไว้มัดละ 15 วินาที เพื่อลดอาการเกร็งและเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวให้เพิ่มมากขึ้น

การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด ได้แก่เครื่องอัลตราซาวน์ ซึ่งเป็นเครื่องที่ให้คลื่นความร้อนลึก ให้การรักษาบริเวณกล้ามเนื้อที่มีอาการหดเกร็ง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ลดปวดจากอาการเกร็ง และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ

เทคนิคอื่นๆ ได้แก่ การถ่ายเทน้ำหนัก, การกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยกระแสไฟฟ้า, การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงในท่าทางที่เหมาะสม, การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือทางกายภาพบำบัด เช่น สายรัดข้อเท้าไม่ให้ปลายเท้าตก, อุปกรณ์ดามข้อศอก เป็นต้น  

การเลือกเทคนิคและการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ นักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้พิจารณาให้เหมาะสมกับปัญหา, ระยะของอาการในผู้ป่วยแต่ละราย

นักกายภาพบำบัดประจำ

ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ

คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์ฟอกไตประสิทธิภาพสูง และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต

ชีวา
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดุแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
คลินิกกายภาพบำบัด
ล้างไตทางหน้าท้อง
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ผ่าตัดเส้นฟอกไต บัตรทอง
ผ่าตัดเส้นฟอกไตประกันสังคม
ชีวา
ชีวา
ศูนย์ไตเทียม

เวปไซด์ ชีวา www.chewa.co.th

สียค่าใช้จ่าย ,  คลินิกกายภาพบำบัด , คลินิกโรคหัวใจ , คลินิกกายภาพบำบัด , ฟอกไตทางหลอดเลือด , ล้างไตทางหน้าท้อง, ทำเส้นฟอกไต , ฟอกไตบัตรทอง, คลินิกผ่าตัดเส้นฟอกไต, อัมพาต