ปัญหาที่พบตามมาหลังจากผู้ป่วยเกิดอัมพาต ล้วนแล้วแต่สามารถฟื้นฟูแก้ไขได้ด้วยวิธีทาง กายภาพบำบัด แต่ในชีวิตจริง น่าเสียดายที่ผู้ป่วยหลายคน ไม่สามารถเข้าถึงการฟื้นฟูวิธีนี้ได้ อาจจะด้วย เหตุผลของความเชื่อ, การไม่รู้จักศาสตร์วิชากายภาพบำบัด จนทำให้ ปัญหาที่ตามมาเหล่านี้ ก่อให้ผู้ป่วยต้องกลายเป็นผู้พิการถาวรในที่สุด ปัญหาเหล่านี้ พอรวบรวมได้เป็น 7 ปัญหาหลักดังนื้
1 กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อเกร็ง ขยับแขนและขาได้น้อย หรือไม่ได้เลย ทำให้ผู้ป่วยต้องกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง, ข้อยึดติดจากการไม่เคลื่อนไหวข้อนั้นมานาน, มีปัญหาแผลกดทับ เกิดการติดเชื้อที่แผล หรือ ติดเชื้อในกระแสเลือดตามมาและมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในที่สุด
2 สูญเสียการทรงตัว ผู้ป่วยไม่สามารถรักษาสมดุลของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการทรงตัวได้ดี ทำให้ ผู้ป่วยไม่สามารถนั่ง เดิน หรือ ยืนได้นาน ทำให้การ กิจวัตรประจำวันในรูปแบบเดิม ทำได้ยาก จึงยังต้องต้องพึ่งพิงผู้อื่น และ มีความเสียงที่จะล้มตามมา
3 ปากเบี้ยว น้ำลายไหล พูดไม่ชัด ไม่สามารถพูดหรือสื่อสารได้ตามปกติ เกิดความอึดอัด เครียดและตามมาด้วยโรคซึมเศร้า
4 ข้อไหล่หลวมหรือหลุด ซึ่งเกิดจากการที่กล้ามเนื้อรอบหัวไหล่อ่อนแรง การปล่อยปัญหานี้ทิ้งไว้ จะยิ่งทำให้ยากลำบากในการฟื้นฟูให้กลับมาดีเหมือนเดิม
5 แขนและมือมีอาการปวด และมีอาการบวม ซึ่งเกิดจากการไม่เคลื่อนไหวแขนและขา กลายเป็นปัญหาใหญ่ในชีวิตประจำวัน
6 ปัญหาด้านการกลืน ไม่สามารถทานอาหารด้วยตนเองได้ ทำให้มีโอกาสสำลักอาหารเข้าปอด ส่งผลให้เป็นโรคปอดอักเสบ และ ติดเชื้อในกระแสเลือดตามมา
7 ปัญหาการเดินในรูปแบบที่ผิดปกติ
“ ปัญหาการเดินในรูปแบบที่ผิดปกติ ”
ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะสามารถเดินด้วยตนเองได้ แต่ถ้าเป็นการเดินในรูปแบบที่ผิดปกติ กล่าวคือ เป็นการเดินที่ใช้กล้ามเนื้อสะโพกช่วยในการเดิน ก้าวเท้าสั้นกว่าปกติ ปลายเท้าข้างที่อ่อนแรงถีบลงและลงน้ำหนักได้น้อย
ปัญหานี้ มิใช่เป็นแค่เรื่องของ ท่าทางการเดินที่ไม่เหมือนคนทั่วไป แต่จะ ส่งผลเสียที่ยากแก่การแก้ไขตามมาไม่ว่าจะเป็น ปัญหา ปวดข้อสะโพก, กระดูกสันหลังผิดรูป และที่สำคัญมากก็คือ ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดการล้มตามมา
ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ ด้วยศาสตร์ทางกายภาพบำบัด ไม่ว่าจะเป็น เทคนิคของการจัดท่า, การเสริมสร้างกล้ามเนื้อ รวมไปถึงเครื่องมือที่ทันสมัย อันได้แก่
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เป็น การใช้กระแสไฟฟ้าขนาดต่ำ ช่วยให้กล้ามเนื้อที่อ่อนแรง ถูกกระตุ้นให้ กลับมา ฟื้นตัวและรู้จักที่จะกลับมาทำงานอีกครั้ง รวมไปถึง ไม่ให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นเกิดการลีบฝ่อตามมา
ออกแบบการเคลื่อนไหว เพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นทำงานมากขึ้นเป็นการเสริมให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นมีกำลังมากขึ้น
ฝึกการทรงตัว ทั้งในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งและท่ายืน โดยการฝึกจะช่วยให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการทรงตัวมีความแข็งแรงมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะล้มลดลง
ฝึกการควบคุมข้อเข่าของขาข้างที่อ่อนแรง
ฝึกถ่ายน้ำหนักขณะก้าวขาไปข้างหน้า
ฝึกการเดินในรูปแบบที่ถูกต้อง การฝึกเดินที่อาจจะมีการใช้เครื่องมือช่วยการเดินที่เหมาะสมเช่น ราวคู่จับ(parallel bar),ไม้สามขา (tripod cane)
นักกายภาพบำบัดประจำ
ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี
ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ
คลินิกกายภาพบำบัด
ศูนย์ฟอกไตประสิทธิภาพสูง และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต