มหัศจรรย์ของกายภาพบำบัดใน ผู้ป่วยอัมพาต
อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคที่เกิดกับใคร ที่ไหน ก็ได้
อัมพาต เกิดจากการที่ หลอดเลือดในสมองมีการตีบตัน หรือ เลือดออกในสมอง จนเนื้อสมองตาย ทำให้ร่างกาย ขยับแขนขาไม่ได้ ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หรือ รายที่เป็นมากก็อาจจะเสียชีวิตได้
คนที่เป็นโรคนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องจบด้วยการเป็นคนพิการ หรือ ผู้ป่วยนอนติดเตียงเสมอไป หลายครั้งที่ ผู้คน อาจจะลืม หรือ มองข้าม การรักษาที่เรียกว่า “กายภาพบำบัด”
คำว่า กายภาพบำบัด มิใช่แค่เป็นการบีบๆนวดๆ แต่เป็นศาสตร์ ที่มีความมหัศจรรย์ หลายครั้ง ผู้ป่วยที่ไม่น่าจะเดินได้ กลับมาเดินได้ ไม่น่ากลับไปทำงานได้ ก็สามารถทำให้กลับไปทำงานได้ ถึงแม้ว่าจะไม่สมบรูณ์เท่ากับปกติที่ผ่านมา แต่ก็สามารถช่วยให้….ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้และสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุดได้
หลักการของการรักษาด้วยวิธี กายภาพบำบัด ใน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ก็คือการทำให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้ที่จะรู้จักใช้กล้ามเนื้อที่ไม่ทำงาน และแก้ไขการเคลื่อนไหวให้กลับมาถูกต้องอีกครั้ง ด้วยเทคนิคและเครื่องมือต่างๆ ทางกายภาพบำบัด ไม่ว่าจะเป็น การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อที่ถูกวิธีและเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน , การฝึกการทรงตัว, การฝึกเดิน การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อให้กล้ามเนื้อที่ไม่ทำงานกลับมาเรียนรู้ที่จะทำงานใหม่ เป็นต้น
ผู้ป่วยหลายคนเสียโอกาสที่ควรจะได้รับการฟื้นฟูนี้ อย่างน่าเสียดาย จนกลายเป็น ผู้ป่วยนอนติดเตียง ข้อติด ข้อหลุด เกิดแผลกดทับ เสี่ยงต่อการล้ม
หัวใจสำคัญของการรักษา วิธีนี้คือ ผู้ป่วยมารับการฟื้นฟู ด้วยวิธีนี้ ได้เริ่มการฟื้นฟูเร็วแค่ไหน, ทำ บ่อยแค่ไหน และถูกต้องแค่ไหน
ต้องเริ่มทำเร็ว โรคหลอดเลือดสมองนี้ หลังจากที่ได้รับการรักษาจนอาการผ่านขั้น วิกฤติแล้ว ก็ สามารถรับการรักษาทาง กายภาพบำบัดได้เลย บางรายสามารถเริ่มทำ กายภาพบำบัด ได้ตั้งแต่ 3-5 วันหลังจากเกิดโรคเลย ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองภายใน 3-6 เดือนแรก ควรรีบเข้ามาทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องเพื่อการฟื้นตัวที่ดี ซึ่งทางกายภาพบำบัดของเราเรียกว่าเป็น “golden period” นั่นคือช่วงเวลาทองของการฟื้นฟูของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั่นเอง
ต้องทำบ่อยๆ การทำกายภาพบำบัด ควรทำอย่างน้อย 3-5วัน/สัปดาห์ อย่างต่อเนื่อง
คำถามที่ผู้ป่วยและญาติ มักจะถาม นักกายภาพบำบัดบ่อยๆ เช่น
การทำกายภาพบำบัด ต้องทำนานแค่ไหน กี่ เดือน กี่ปี ผู้ป่วยถึงจะมีอาการที่ดีขึ้น หรือกลับมาเดินได้เหมือนเดิม?
คำตอบก็คือ การฟื้นตัวของผู้ป่วยแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่
ความรุนแรงของรอยโรคในสมอง, ความร่วมมือ จิตใจ กำลังใจ ของผู้ป่วย ที่ช่วยให้เกิดความต่อเนื่องของการทำ กายภาพบำบัด, ขั้นตอนและวิธีการของการทำ กายภาพบำบัด โดย นักกายภาพบำบัด
ถึงแม้ว่า จะไม่สามารถบอกได้ว่า จะต้องทำกายภาพบำบัด นานแค่ไหน แต่
สิ่งที่ตอบได้ก็คือ… การทำกายภาพบำบัด ที่เริ่มเร็ว ทำบ่อยๆ โดยนักกายภาพบำบัด จะช่วยให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการและ ฟื้นตัวที่ดีกว่าเดิม
นักกายภาพบำบัดประจำ ชีวา
บางใหญ่ นนทบุรี