การรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบที่ไม่ต้องผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ ก็คือ การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน ผ่านสายสวน ปัจจุบัน การรักษาแบบนี้ สามารถทำได้เกือบทุกจังหวัดในประเทศไทย ทั้งในภาวะปกติและ ฉุกเฉิน ผู้ป่วยก็เริ่มคุ้นเคยกับการรักษาหลอดเลือดหัวใจแบบนี้กันมากขึ้น ครั้งนี้ผมก็จะมาเล่า เกี่ยวกับ การขยายหลอดเลือดหัวใจ โดยจะเน้นไปที่ อุปกรณ์หนึ่งที่ถือว่าเป็นพระเอกของการรักษาแบบนี้ นั้นก็คือ สเต็นท์ หรือ stent
ทำไมถึงเรียก สเต็นท์ ว่าเป็นพระเอกในงานนี้ ก็เพราะว่า การขยายหลอดเลือดหัวใจโดยใช้ บอลลูนอย่างเดียวมีข้อจำกัด ก็คือ หลังจากหลอดเลือดถูกขยายด้วยบอลลูนแล้ว ตัวผนังหลอดเลือดจะหดตัว ยุบตัวลงมา ทำให้ หลอดเลือดตีบอีก แพทย์จึงจำเป็นต้องมีการใส่ สเต็นท์ นี้ ซึ่งเป็นโครงตาข่ายโลหะ ขนาดเล็ก เข้าไปค้ำยันผนังหลอดเลือดไม่ให้ยุบตัวลงมา หลังขยายหลอดเลือดนี้ ด้วยบอลลูน ดังนั้นผู้ป่วยเกือบทุกคน จะได้รับการฝังขวดลวดเสต็นท์นี้ เสริมเข้าไปหลังทำบอลลูน
ดังนั้น เรามาทำความรู้จัก การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยสเต็นท์ กันนะครับ
ขั้นตอนการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วย สเต็นท์
การรักษาเริ่มจากการที่ แพทย์ ใส่สายสวนขนาดเล็ก ผ่านหลอดเลือดแดงใหญ่ ที่ขาหนีบ หรือข้อมือ แล้วสายสวนนี้ ก็จะค่อย ผ่านขึ้นไปที่ หลอดเลือดแดงใหญ่ใกล้กับหัวใจ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ เป็นทางออก หรือ ต้นตอของหลอดเลือดหัวใจ
เมื่อสายสวน เข้ามาที่ หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ขั้วหัวใจ ซึ่งเป็นตำแหน่งของ ต้นตอ หรือ ต้นทางของหลอดเลือดหัวใจ แพทย์ก็จะเริ่มใส่ อุปกรณ์ในการขยายหลอดเลือดหัวใจ โดยผ่านอุปกรณ์มาตามท่อหรือสายสวนที่วางใว้ในขั้นตอนแรก ผ่านจากขาหนีบหรือข้อมือ ขึ้นมายังหัวใจ อุปกรณ์ ก็ได้แก่ ลวด, บอลลูน จนถึง โครงตาข่ายสเต็นท์
แพทย์ก็จะเริ่มขยายหลอดเลือดหัวใจ โดยการผ่านลวดขนาดเล็กพิเศษ ผ่านรอยตีบที่หลอดเลือดหัวใจ เป็นตัวนำทางให้อุปกรณ์ชิ้นต่อๆไป หลังจากนั้น บอลลูนขนาดเล็ก จะถูกส่งผ่านมาตามลวดขนาดเล็กที่ถูกวางใว้ก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อบอลลูนอยู่ในตำแหน่งที่จะขยาย ก็จะอัดบอลลูนให้โป่งพองขึ้น ทำให้จุดตีบบริเวณนั้นถูกถ่างขยายออก หลังจากนั้นก็จะยุบบอลลูนลง แต่ปัยหาที่ตามมาก็คือ ผนังหลอดเลือดบริเวณที่ถูกขยาย จะมีความยืดหยุ่น ทำให้ ผนังหลอดเลือดหด หรือยุบตัวลงมาตามบอลลูนด้วย ทำให้ การขยายหลอดเลือดทำไม่ได้เต็มที่ แพทย์จึงต้องใช้ สเต็นท์ พระเอกของเราในวันนี้ สเตนท์ เป็น โครงตาข่าย โลหะ ทำจาก สเตนเลสสตีล ตอนใส่เข้าไปตัวตาข่ายจะยังอยู่ในรูปแบบที่หดตัว คือ ยังไม่ได้กางออก เวลาจะให้ สเต็นท์ กางออก ก็ต้องอาศํยบอลลูนที่ติดมากับ สเต็นท์ เป็นตัวขยายและดันหรือ กางสเตนท์ นี้ ให้แผ่ออก แรงดันจากบอลลูนที่ใช้จะสูงมาก มากพอที่จะดันให้ขอบโครงตาข่ายแนบติดกับผนังหลอดเลือด ผู้ป่วยจึงไม่ต้องกังวลว่า สเต็นท์นี้จะหลุด หรือ เคลื่อนที่
นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม
ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี
ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ
คลินิกกายภาพบำบัด
ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต