Ep185 ไขข้อสงสัย โครงลวดขยายหลอดเลือดหัวใจ (สเต็นท์)

ขดลวด สเต็นท์ ขยายหลอดเลือดหัวใจ

ผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวนทางผิวหนัง ด้วยบอลลูน ส่วนใหญ่จะได้รับการฝังขวดลวด หรือโครงลวด ที่เรียกว่า สเต็นท์ (stent) เพื่อใช้ถ่างขยายหรือค้ำยันในผนังหลอดเลือดเสริมเข้าไปด้วย จากการที่ โครงลวดนี้ ซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ฝังอยู่ในร่างกายผู้ป่วยหลังการรักษา สารพัดความกังวลใจเกี่ยวกับ สเต็นท์ นี้ ก็เกิดขึ้นพร้อมกับคำถามจากผู้ป่วยมากมาย มาฟังคำตอบกันทีละข้อกันนะครับ

1 เวลาวิ่ง สเตนท์นี้ จะหลุดไหม?

ตอบ: ไม่หลุดครับ เพราะ ว่า สเต็นท์ เป็นโครงตาข่าย ที่ถูกกางออก โดยใช้แรงดันจากบอลลูนที่สูง อัดสเต็นท์นี้เข้ากับผนังหลอดเลือด จึงไม่สามารถขยับหรือเคลื่อนตัวได้ นอกจากนี้แล้ว หลังจากฝัง สเต็นท์ นี้แล้ว ร่างกายจะสร้างเนื้อเยื่อเข้ามายึดกับโครงของ สเต็นท์ นี้ จนโครงโลหะนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของผนังหลอดเลือดไป

2 สเต็นท์นี้จะหมดอายุไหม? ต้องมาเปลี่ยนไหม่หรือไม่?

ตอบ: ไม่ต้องมาเปลี่ยนครับ เพราะว่า สเต็นท์นี้ เป็นโลหะ และจะถูกฝังเข้าไปในผนังของหลอดเลือด สเต็นท์ นี้ จึงอยู่กับผู้ป่วยไปตลอดชีวิต ไม่สามารถถอดออกมาได้

3 นอนตะแคงซ้ายแล้วเจ็บแปล็บๆที่หน้าอก เป็นเพราะสเต็นท์นี้ไหม?

ตอบ: ไม่เกี่ยวกับสเต็นท์ครับ เพราะว่า สเต็นท์ ที่อยู่ในหลอดเลือดไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกจากการมีสเตนท์นี้อยู่ในร่างกาย การเจ็บหน้าอก หลังจากฝังสเตนท์ ก็ต้องดูว่า อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้นมาใหม่นี้ เกิดจากหลอดเลือดตีบตันใหม่หรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่ความรู้สึกแปล็บๆ บริเวณหน้าอก ที่เกิดจากความกังวล จดจ่อกับ โรคหัวใจ หรือเป็นจากกล้ามเนื้อหน้าอกอักเสบ

4 ใส่สเตนท์แล้วมีลืมกินยาบ้างจะเป็นอะไรไหม และต้องกินยานานแค่ไหน?

ตอบ: ห้ามลืมกินยาเด็ดขาดครับ เพราะว่า หลังจากแพทย์ทำการฝังสเต็นท์ในหลอดเลือดหัวใจไปแล้ว สิ่งหนึ่งที่แพทย์กังวลก็คือ การเกิดลิ่มเลือดขึ้นในโครงโลหะของสเต็นท์นั้น จนทำให้หลอดเลือดอุดตัน ดังนั้นยาที่จำเป็นอย่างมาก และไม่ควรลืมกินก็คือ ยาต้านเกล็ดเลือด ซึ่งแพทย์มักจะให้ยาต้านเกล็ดเลือดไป2ชนิด และต้องกินต่อเนื่องนาน1ปี และหลังจากนั้นก็จะลดยาต้านเกล็ดเลือดเหลือ1ชนิด ซึ่งต้องกินต่อเนื่องไปอีกตลอดชีวิต

5 เวลาถอนฟันต้องหยุดยาไหม?

ตอบ: ไม่ควรหยุดยาในช่วง1ปีแรก เพราะว่า ในช่วง1ปีแรกหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการฝังสเต็นท์ เป็นช่วงที่ ผู้ป่วยมีโอกาสสูงที่จะ เกิดลิ่มเลือดอุดตันในโครงตาข่าย ดังนั้นการหยุดยาต้านเกล้ดเลือดในช่วงเวลานี้ ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ จนเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันตามมาได้ ผุ้ป่วยจึงควรพยายามหลีกเลี่ยงการถอนฟัน ในช่วง 1ปีแรกที่ได้รับการฝัง สเต็นท์ไป แต่หลังจาก1ปีไผ่านปแล้ว แพทย์จะลดยาต้านเกล็ดเลือดเหลือเพียงแค่1ชนิด ซึ่งในช่วงนี้ ดอกาสที่จะเกิดลิ่มเลือดอุดตันเฉียบพลันก็จะลดลงมาก ดังนั้นในกรณีที่ผู้ป่วยจะถอนฟัน ก็สามารถหยุดยาต้านเกล็ดเลือดที่เหลือนี้ได้ ในช่วงเวลา5-7วัน ก่อนจะถึงวันที่ถอนฟัน

6 มีสเต็นท์ในร่างกายเวลาผ่านเครื่องตรวจโลหะที่สนามบินจะมีปัญหาไหม?

ตอบ:ไม่มีปัญหาครับ เพราะว่า สเตนท์ เป็นโครงตาข่ายขนาดเล็กมาก ทำมาจาก สเตนเลสสตีล ฝังอยู่ในผนังหลอดเลือด ซึ่งเครื่องตรวจจับโลหะ จึงไม่สามารถตรวจจับได้

7 มีสเต็นท์ในร่างกายห้ามตรวจMRIจริงไหม?

ตอบ: ไม่จริงครับ ปัจจุบันสามารถตรวจMRI ได้ตามปกติ แต่เดิมมีความเชื่อว่า สเต็นท์ โดยเฉพาะ สเต็นท์รุ่นเก่า ซึ่งมีส่วนประกอบของสารโลหะบางชนิด ที่สามารถเหนี่ยวนำกับสนามแม่เหล็ก จากเครื่องMRI การเหนี่ยวนำนี้ คล้ายกับ เครื่องMRI สร้างแรงดูดกับ โครงโลหะของสเตนท์ ที่เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า Ferromagnetic ทำให้ เกิดการเคลื่อนตัวของ สเต็นท์ ในหลอดเลือด ซึ่งปัจจุบันนี้ การเกิดการเคลื่อนตัวแบบนี้ แทบจะไม่มีทางเป็นไปได้เลย เพราะว่า ปัจจุบัน สเต็นท์รุ่นใหม่แทบจะไม่มี ส่วนผสมของสารโลหะที่ทำให้เกิด ปรากฎการณ์ Ferromagnetic นี้ และ หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการฝัง สเต็นท์ ไป 6สัปดาห์ ร่างกายจะสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาปกคลุมผิวของ สเต็นท์ จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเกิดการเคลื่อนหลุดของสเต็นท์

8 หลอดเลือดที่ฝังสเต็นท์ แล้ว หลอดเลือดมีโอกาสตีบขึ้นมาอีกไหม?

ตอบ:มีครับ หลอดเลือดหัวใจที่เกิดจากความเสื่อมของผนังหลอดเลือด แม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการขยายหลอดเลือดด้วยสเต็นท์ ไปแล้วก็ตาม ความเสื่อมนั้นยังคงเดินหน้าไปเรื่อยๆ โอกาสที่หลอดเลือดทั้งในบริเวณที่มีสเต็นท์ ฝังไว้ กับบริเวณอื่น ก็มีโอกาสตีบได้หมด แต่สาเหตุสำคัญที่ทำให้หลอดเลือดตีบตันในผู้ป่วยที่ได้รับการฝัง สเต็นท์ ก็คือการเกิดลิ่มเลือดไปเกาะที่โครงตาข่ายของ สเต็นท์ ในช่วง1ปีแรกหลังการรักษา ดังนั้นการกินยาต้านเกล็ดเลือด ตามที่แพทย์วางแผนจึงมีความสำคัญ

9 ผู้ป่วยจะสังเกตุตัวเองได้ไหมว่า สเต็นท์ ที่ฝังไว้เกิดการตีบตัน?

ตอบ: ได้ครับ ในกรณีที่ สเต็นท์ ที่ฝังใว้เกิดการตีบตันที่มากพอ จนเลือดไม่สามารถวิ่งผ่านไปได้เพียงพอขณะที่เราออกกำลังกาย ผู้ป่วยสามารถสังเกตุอาการ แน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย น้ำท่วมปอด หรือ อาการที่เราเคยเป็นในช่วงก่อนที่จะได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ เป็นอาการที่เกิดขึ้นมาใหม่หลังจากได้รับการรักษา แต่ หลายครั้งที่ ข้อมูลจากอาการ ก็อาจจะไม่เพียงพอที่จะให้แพทย์ทำการวินิจฉัย ภาวะ สเต็นท์ตีบตันได้ ต้องอาศัยการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การวิ่งสายพานEST หรือ การตรวจสวนหัวใจ CAG

นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม

ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ

คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ล้างไตทางหน้าท้อง
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ผ่าตัดเส้นฟอกไตประกันสังคม
ผ่าตัดเส้นฟอกไต บัตรทอง
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดุแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ชีวา
ชีวา
ศูนย์ไตเทียม