Ep177 เป็นโรคหัวใจวิ่งได้ไหม?

ใครก็ตามที่ได้รับรู้ว่าตัวเอง เป็น ผู้ป่วยโรคหัวใจ ไม่แปลกที่ คนคนนั้น จะเกิดความกลัว ความกังวล ตามมามากมาย สิ่งหนึ่งที่คนเรามักกลัวก็คือ การเสียชีวิตจากโรคหัวใจแบบเฉียบพลัน ยิ่งมีข่าวการเสียชีวิตกระทันหันของคนดังในข่าว ขณะเล่นกีฬา ยิ่งตอกย้ำความกลัว นี้ให้มีมากขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงหลีกเลี่ยงที่จะออกกำลังกาย แม้ว่าตัวเองจะได้รับการรักษาแล้วก็ตาม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ทำไมผมถึงบอกว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจแล้วไม่ยอมออกกำลังจึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ลองหาคำตอบจากบทความนี้นะครับ

คนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแล้ว จะวิ่งได้ไหม?

แล้วทำไมคนเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจต้องวิ่ง ต้องออกกำลังกายด้วย?

ก็เพราะว่า การออกกำลังกาย คือวิธีหนึ่งที่สามารถลดการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย ลดการตีบตันซ้ำของหลอดเลือด

สาเหตุที่การออกกำลังกายดีอย่างนี้ ก็เพราะว่า การออกกำลังกายที่ถูกต้อง สามารถชะลอความเสื่อมของโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ในขณะที่ ยาที่แพทย์ใช้หลายๆตัวก็ยังไม่สามารถทำได้แบบนี้ มารู้จักคำว่า ความเสื่อมของหลอดเลือดหัวใจ กันสักนิดนะครับ เพราะว่า สิ่งนี้แหละครับที่เป็น ต้นเหตุของการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ ไม่ว่าจะตีบแบบแบบค่อยๆตีบ หรือ ตีบแบบฉับพลัน ผมขอเล่าในรายยละเอียดสักนิดนะครับว่า ที่บอกว่าหลอดเลือดค่อยๆตีบ มันเกิดอย่างไร แบบนี้ครับ หลอดเลือดไหนที่มีความเสื่อมมาก หลอดเลือดนั้นก็ยิ่งมีการสะสมคราบไขมัน หินปูนในผนังหลอดเลือด ค่อยๆสะสม พอกพูน จนผนังหลอดเลือดหนาตัว และ ทำให้รูในหลอดเลือดค่อยๆตีบแคบลง ดังในรูปข้างล่างนี้

ส่วนการตีบของหลอดเลือดอีกแบบหนึ่ง ที่เป็นการตีบแบบปุปปัป ฉับพลัน ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า อย่างในข่าวของคนที่เสียชีวิตกระทันหัน อธิบายแบบนี้ครับ เวลาที่ผนังหลอดเลือดมีความเสื่อม ผนังบริเวณที่เสื่อมเกิดการปริแตก แล้วเกิดก้อนเลือดมาเกาะที่รอยปริแตกนั้น ก็จะทำให้ตัวก้อนเลือดอุดตันหลอดเลือดในทันที และเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ดังในภาพข้างล่างนี้

ภาพการเกิดลิ่มเลือดอุตันในหลอดเลือดหัวใจ

คนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจแล้ว และได้รับการรักษาแล้ว หมายความถึง แพทย์ได้แก้ไข การตีบตันของหลอดเลือดให้แล้ว แต่ความเสื่อมของหลอดเลือดที่เป็นต้นเหตุของการตีบตันของหลอดเลือดยังคงอยู่ ซึ่งก็หมายความว่า ผู้ป่วยยังสามารถที่จะเกิดการตีบตันทั้งแบบค่อยๆตีบและตีบแบบฉับพลันได้ การที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของหลอดเลือดได้ วิธีหนึ่งก็คือ การออกกำลังกายที่เหมาะสม ผมใช้คำว่า “เหมาะสม” ก็เพราะว่า การออกกำลังกายสามารถกลายเป็นดาบสองคมได้ ในผู้ป่วยบางกลุ่ม การแนะนำการออกกำลังกาย จึงขึ้นอยู่กับว่า ผู้ป่วยคนนั้นเป็น กลุ่มที่ได้รับการรักษาแล้ว หรือเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการรักษา

1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการรักษาแล้ว ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน จนไม่มีภาวะหลอดเลือดที่ตีบแล้ว หรือ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดบายพาสแล้ว ก็จะมีหลอดเลือดเส้นใหม่ที่เป็นทางเบี่ยง ให้เลือดผ่านไปได้ ทำให้เวลาที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไปออกกำลังกาย ซึ่งเป็นเวลาที่กล้ามเนื้อหัวใจต้องการเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นกว่าปกติ กล้ามเนื้อหัวใจก็จะมีเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ ไม่เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยจึงไม่มีอาการแน่นหน้าอก หรือ เหนื่อยง่ายผิดปกติ จากหลอดเลือดหัวใจที่เคยตีบ ที่เคยเป็นเมื่อครั้งก่อนได้รับการรักษา

ดังนั้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้หลังได้รับการรักษาแล้วจึงสามารถออกกำลังกายได้เหมือนคนทั่วไป

แต่อย่างไรก็ตาม ตามที่ผมได้เล่าใว้ข้างต้น ว่าผู้ป่วย ที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด หรือ ขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน ก็ยังสามารถเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน หรือ หลอดเลือดตีบตันซ้ำซ้อนได้อีก ซึ่งการเกิดสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการออกกำลังกาย แต่การไม่ออกกำลังกายกลับจะทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดตามมามากขึ้น

การออกกำลังกายที่ถูกต้อง จึงสามารถป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้

พอเห็นภาพไหมครับว่า คนที่เป็นหลอดเลือดหัวใจตีบและได้รับการรักษา แต่เพราะความกลัว เลยไม่กล้าทำอะไร ไม่กล้าออกกำลัง ทำให้ ผู้ป่วยยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย หลอดเลือดเกิดการตีบตันซ้ำขึ้นมาอีก

2.ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือ ผู้ที่ไม่รู้ตัวว่า ตัวเองเป็นโรคนี้ เมื่อผู้ป่วยไปออกกำลังกายขณะที่หลอดเลือดหัวใจ ยังมีการตีบตันอยู่ ผลที่ตามมาก็คือ เลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจขณะออกกำลังกายก็จะไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในที่สุด ดังนั้นการออกกกำลังกาย ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ จึงมีต้องมีความระมัดระวัง ต้องสังเกตุการเปลี่ยนแปลง หรือ อาการที่เกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย หรือ ทำกิจกรรมต่างๆ เช่น อาการแน่นบีบรัดหน้าอก, อาการเหนื่อยง่าย ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงควรปรึกษาแพทย์ ถึงวิธีการออกกำลังกายที่ปลอดภัย

แล้ว ออกกำลังกาย แบบไหนดี ที่จะดีสำหรับ ผู้ป่วยโรคหัวใจ?

1 ถาม แพทย์ที่รักษาก่อนครับว่า เราเป็นผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการรักษาจนครบถ้วนสมบรูณ์แล้วหรือยัง และสามารถอกกำลังกายได้มากแค่ไหน ซึ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขหลอดเลือดที่ตีบ ก็จะมีข้อระมัดระวังในการออกกำลังกายมากขึ้น

2 ออกกำลังกายแบบไหนดี การจะออกกำลังกายวิธีไหน ก็ขึ้นอยู่กับความถนัด สถานที่ อุปกรณ์ที่มีของผู้ป่วยแต่ละคน ถ้าใครยังคิดไม่ออก ผม แนะนำใช้ วิธีการเดิน เป็นวิธีที่ง่าย ไม่ต้องเตรียมมาก ทำได้เลย ส่วนการจะออกกำลังกายอย่างไร ให้ได้ประโยชน์ นั้น ต้องเป็นการออกกำลังกายที่มีรูปแบบดังนี้

การออกกำลังกายต้องมี ความสม่ำเสมอ การที่คนเรามีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง จะทำให้กล้ามเนื้อ หลอดเลือด หรือ การทำงานของ หัวใจ และ ปอด มีเวลาในการปรับตัวเอง อย่างค่อยเป็นค่อยไป ในขณะที่การออกกำลังกาย แบบนานๆครั้ง ทำๆหยุดๆ ย่อมทำให้ร่างกายปรับตัวได้ยากขึ้น ดังนั้น ประโยชน์จากการออกกำลังกายจะเห็นก็ต่อเมื่อเราออกกกำลังกายอย่างน้อย 5วันต่อสัปดาห์

การออกกำลังกายต้องทำแบบค่อยๆเพิ่มความหนัก ความเข้มข้น อย่างช้าๆ เช่น ค่อยๆเดินจาก ครั้งละ 10นาที เป็น 20นาที หรือ ค่อยๆเพิ่มความถี่ จาก2วันต่อสัปดาห์ เป็น 5วันต่อสัปดาห์ ในช่วงเวลา2-3เดือน อย่าใจร้อน ออกกำลังกายหักโหมตั้งแต่ช่วงแรกที่เริ่มออกกำลังกาย

3 หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักหน่วง ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจเสียชีวิตอย่างกระทันหันก็คือ การออกกำลังกายที่หนักหน่วงเกินไป โดยที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีพอ ดังนั้น การออกกำลังกายที่ดี ก็ต้องยึดหลักของความสม่ำเสมอและค่อยๆเป็นค่อยๆไป

4 สังเกตุการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ขณะหรือหลังออกกำลังกาย เช่น อาการแน่นหน้าอก, เหนื่อยง่ายกว่าปกติ, หน้ามืดวิงเวียน ซึ่งถ้าเกิดอาการเหล่านี้ และไม่แน่ใจว่าจะเกิดจากโรคหัวใจหรือไม่ ก็ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

5 อย่าลืมอุ่นเครื่องก่อนออกกำลังกาย การอุ่นเครื่อง ทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายที่เราเรียกว่า warm up หรือ cool down มีความสำคัญในการที่จะเตรียมให้ กล้ามเนื้อ มีการขยับยืดเหยียดก่อน เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ซึ่งแน่นอนเมื่อมีการเจ็บปวดเกิดขึ้น การออกกำลังกายครั้งต่อไปก็จะทำได้ยากขึ้น การใช้เวลา 10นาทีก่อนและหลังการอออกกำลังกาย สำหรับการเคลื่อนไหว ยืดเหยียดอย่างช้า เช่น คนที่เลือกวิธีเดิน เร็ว ในการออกกำลังกาย ก็อาจจะใช้การเดินช้าๆ 10นาทีก่อนเดินเร็วเพื่อเป็นการอุ่นเครื่อง (warm up) และ ใช้เวลาเดินช้าๆอีก10นาทีก่อนที่จะหยุดออกกำลังกาย( cool down)

นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม

ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ

คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต

ผ่าตัดเส้นฟอกไต บัตรทอง
ผ่าตัดเส้นฟอกไต
ล้างไตทางหน้าท้อง
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดุแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ชีวา
ชีวา
ศูนย์ไตเทียม