Ep170 หัวใจเต้นช้า อันตรายไหม?

หัวใจเต้นช้า อันตรายไหม?

คำถาม : หัวใจเต้นแค่ไหนถึงจะบอกว่า หัวใจเต้นช้า?

ในทางการแพทย์ ใครก็ตามที่มี หัวใจเต้นช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที เป็นการบอกว่า คนคนนั้น มีภาวะหัวใเต้น ช้ากว่าปกติ (ฺbradycardia) ภาวะนี้จะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่เดี๋ยวก่อนนะครับ ถึงแม้ว่า ผู้สูงอายุ จะมีภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกตินี้ ก้ไม่ได้แปลว่า ผู้สูงอายุ จะมีความผิดปกติของหัวใจ หรือ เป็นโรคหัวใจนะครับ เริ่มสับสนแล้วใช่ไหมครับ เดี๋ยวอ่านคำถามถัดไปนะครับจะเข้าใจ ภาวะหัวใจเต้นช้าในผู้สูงอายุมากขึ้น

ดังนั้น ในการดูแลผู้สูงอายุ นอกจากการวัดความดันโลหิตอย่างสมำ่เสมอ แล้ว การตรวจจับชีพจร โดยผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน หรือที่ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ซึ่งผู้ดูแล สามารถตรวจได้ ด้วยการคลำชีพจร แนะนำให้คลำที่ข้อมือ และต้องวัดหลายๆครั้ง ติดต่อกันประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อดูชีพจรของผู้สูงอายุ ในภาพรวม เนื่องจาก โดยทั่วไปอัตราการเต้นหัวใจของผู้สูงอายุ จะมีการเปลี่ยนแปลงตามการกระตุ้นจากปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ความเจ็บป่วย อดนอน โกรธ จึงต้องวัดหลายๆครั้งในแต่ละวัน

คำถาม: ถ้ารู้แล้วว่าหัวใจเต้นช้าจริง แสดงว่า ต้องพบแพทย์?

ผู้สูงอายุที่มี อัตราการเต้นหัวใจ ช้ากว่า 60ครั้ง/นาที ไม่ได้แปลว่า เป็นโรคหัวใจ หรือ ต้องรีบมาพบแพทย์ ผู้ดูแลก็ควรต้องประเมินข้อมูลอื่นๆประกอบด้วย ดังนี้

1.ผู้สูงอายุ มีอาการผิดปกติ ขณะที่หัวใจเต้นช้าหรือไม่ เช่น เป็นลม หมดสติ หน้ามืด เวียนศรีษะ

2.ชีพจรเต้นช้ามาก เช่น ช้ากว่า 40ครั้งต่อนาที

3. ชีพจร เต้นช้ามาก เต้นช้าตลอด คงที่ทั้งวัน เช่น ช้ากว่า 40-50ครั้ง ตลอดทั้งวัน ไม่มีช่วงที่ หัวใจถูกกระตุ้นให้มีชีพจรเร็วขึ้นเลย

อย่าลืมนะครับ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำเป็นที่จะต้อง จับชีพจร วัดความดัน วันละหลายๆครั้ง และ จดบันทึก ต่อเนื่องหลายๆวัน แล้วดูแนวโน้มของ อัตราการเต้น ชีพจร แต่อย่างไรก็ตาม ถ้า ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ไม่แน่ใจ ก็ควรปรึกษา แพทย์ทางด้านหัวใจ เพื่อความปลอดภัย

คำถาม: แพทย์มีวิธีการตรวจ ผู้สูงอายุ ที่มี หัวใจเต้นช้า อย่างไร?

สิ่งแรกเลยก็คือ ประวัติของ ผู้สูงอายุ เช่น อาการเหนื่อยง่าย, เป็นลม, หมดสติ, แน่นหน้าอก เพราะว่า อาการเหล่านี้ ถ้ามีอาการเหล่านี้ร่วมกับช่วงเวลาที่ หัวใจ เต้นช้ามาก ก็บอกถึง ภาวะ หัวใจเต้นช้า นี้ อันตรายแล้ว แต่โดยส่วนมาก ผู้สูงอายุ ที่มีหัวใจเต้นช้าก็มักจะไม่มีอาการแสดงให้เห็นชัดเจน จึงต้องอาศัยการตรวจอื่นเพิ่ม

เครื่องมือในการตรวจที่สำคัญก็คือ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ ECG เป็นการตรวจที่ง่ายๆ แต่สามารถช่วยแพทย์ บอกถึงสาเหตุของ หัวใจเต้นช้าใน ผู้สูงอายุ ได้ แต่ปัญหาของการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจก็คือ ว่า ผู้สูงอายุ บางคนมีภาวะ หัวใจเต้นช้ามาก จริง แต่เป็นแค่บางเวลา ทำให้ เวลาที่ ผู้สูงอายุ ไปพบแพทย์ อาจจะตรวจไม่พบว่ามีหัวใจเต้นช้า แม้ว่าจะตรวจด้วย คลื่นไฟฟ้าหัวใจก็ตาม เพราะช่วงเวลานั้น ผู้สูงอายุ ยังไม่มี ภาวะหัวใจเต้นช้า

ดังนั้นเมื่อ ผู้สูงอายุ มีอาการหัวใจเต้นช้า เป็นครั้งคราว เวลามาโรงพยาบาล แพทย์ ก็มักจะตรวจไม่เจอ เพราะ ผู้สูงอายุยังไม่เกิดภาวะหัวใจเต้นช้าเวลานั้น แพทย์ก็ จะใช้เครื่องมืออีกชนิดหนึ่ง เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยใช้เครื่องแบบพกพาชนิดที่ ติดตัวผู้สูงอายุกลับบ้านไปเลย เครื่องนี้จะติดตามและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตลอด24-48ชั่วโมง เครื่องนี้เป็นเครื่องพกพาขนาดเล็ก สามารถติดตัว ผู้สูงอายุ ได้ตลอดทั้งวันทั้งคืน แต่จะไม่สามารถอาบน้ำได้ขณะมีเครื่องนี้ติดตัว ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ก็มีหน้าที่จดบันทึกอาการผิดปกติของ ผู้สูงอายุ ในช่วงเวลาที่ใช้เครื่องติดตามนี้ เพื่อแพทย์จะได้จับคู่อาการที่เกิดกับ คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ ในเวลาที่ตรงกัน

คำถาม: หัวใจเต้นช้า ใน ผู้สูงอายุ เกิดจากอะไรบ้าง?

ผู้สูงอายุ มักจะมีการเสื่อมของเนื้อเยื่อในผนังหัวใจ ทั้ง เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ, เนื้อเยื่อที่มีส่วนในการกระตุ้นหรือนำกระแสไฟฟ้าในหัวใจ การเกิดพังผืดในเนื้อเยื่อเหล่านี้ อาจจะทำให้เกิดปัญหา ทั้งการกำเนิดกระแสไฟฟ้า หรือการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในหัวใจ

สาเหตุของ หัวใจที่เต้นช้าใน ผู้สูงอายุ แพทย์ สามารถดูได้จาก แผ่นคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ไม่ว่าจะมีสาเหตุจากการที่ จุดกำเนิดกระแสไฟฟ้าทำงานช้าลง ( sinus bradycardia , sick sinus syndrome) หรือ การนำกระแสไฟฟ้าในผนังหัวใจถูกขัดขวาง(atrioventricular block) แต่อย่างไรก็ตาม ความผิดปกติเหล่านี้ อาจจะไม่ได้เกิดจากความเสื่อมใน ผู้สูงอายุ อย่างเดียว อาจจะเกิดจากยาที่ ผู้สูงอายุ รับประทานอยู่ ดังนั้น ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับ ยาที่ ผู้สูงอายุ ใช้อยู่ หรือ เกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อ เหล่านี้ในผนังหัวใจ ซึ่ง การเต้นของหัวใจที่ช้า ก็จะดีขึ้นได้ หลังจากที่การอักเสบนั้นหายไป

คำถาม: หัวใจเต้นช้าใน ผู้สูงอายุ มีวิธีการรักษาไหม?

มีครับ สำหรับ ผู้สูงอายุที่มีหัวใจเต้นช้ามากๆ เช่นน้อยกว่า40 ครั้งต่อนาที หรือ มีอาการผิดปกติ เวลาที่หัวใจเต้นช้า เมื่อแพทย์ พิจารณาแล้วว่า หัวใจเต้นช้าที่ผิดปกตินี้ เป็นอันตราย และ ไม่สามารถหายได้ หรือ ฟื้นตัวได้เอง เช่นลองหยุดยาที่ กดการเต้นของหัวใจ หรือ รอระยะเวลา1สัปดาห์แล้ว หัวใจก็ยังเต้นช้ามากอยู่ แพทย์ ก็จะตัดสินใจใช้เครื่องควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ หรือ pacemaker ซึ่งมีทั้งแบบใส่ชั่วคราว (temporary pacemaker ) หรือ ฝังใต้ผิวหนังที่หน้าอกบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า(permanent pacemaker) ซึ่งเมื่อฝังเครื่องควบคุมการเต้นหัวใจแบบถาวรนี้แล้ว ผู้สูงอายุ ก็จำเป็นต้องมาตรวจเช็คเครื่องตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และ เปลี่ยนแบตเตอรี่ เมื่อถึงคราวที่กำหนด ซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลา 5-10ปี

คำถาม: ถ้า ผู้สูงอายุ ปฎิเสธการรักษา จะเป็นอะไรไหม?

ทั้งนี้ก็ขึ้นกับว่า ผู้สูงอายุ คนนั้น มี หัวใจเต้นช้ามากไหม ถ้าช้ามากไม่รักษา ผู้สูงอายุ ก็อาจจะ มีปัญหา หัวใจเต้นพริ้วระรัว(ventricular fibrillation)จนหัวใจหยุดเต้นได้ หรือ เกิดปัญหา น้ำท่วมปอด หรือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ตามมาได้ ดังนั้น การที่ ผู้ดูแล ได้อธิบาย พูดคุยกับผู้สูงอายุ ให้เข้าใจในกระบวนการรักษา ก็ย่อมทำให้ ผู้สูงอายุ เข้าใจ และให้ความร่วมมือในการรักษา เพราะนั้นหมายถึง ชีวิตและความปลอดภัยของผู้สูงอายุ

นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม

ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ

คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์ฟอกไตประสิทธิภาพสูง และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต

ผ่าตัดเส้นฟอกไต บัตรทอง
ผ่าตัดเส้นฟอกไตประกันสังคม
ล้างไตทางหน้าท้อง
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดุแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ชีวา
ชีวา
ศูนย์ไตเทียม

เดินทางมา ชีวา  https://goo.gl/maps/CgcGgE6uieUn1naM9

คุยกับเรา ชีวา   https://lin.ee/k8UqBKr

โทร ได้ทุกวัน 0909250096 0969088890

ชีวา  เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ ตั้งอยู่ใน ซอยกันตนา  ใกล้ โรงพยาบาลบางใหญ่  อำเภอ บางใหญ่ นนทบุรี    

      การบริการประกอบไปด้วย

                  1 ศูนย์พักฟื้น และ ดูแลผู้สูงอายุ  ทั้งแบบพักรายเดือน และ รายวัน  เหมาะสำหรับ ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยที่ต้องการการ ดูแลทางการพยาบาล, ทำกายภาพบำบัด หลังอัมพาต หรือ ผ่าตัดข้อ กระดูก, รอฟอกไตทางหลอดเลือด , ดูแลการล้างไตทางหน้าท้อง 

                 2 ศูนย์ฟื้นฟูอัมพาตและ คลินิกกายภาพบำบัด  สำหรับผู้ป่วยอัมพาต ที่ต้องการการทำกายภาพแบบเข้มข้น รายเดือน หรือ ทำกายภาพบำบัดแบบไปกลับ       

                 3 ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต  โดยผู้ป่วยที่ใช้สิทธิประกันสังคม หรือ บัตรทอง ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการฟอกไต     ส่วนการผ่าตัดเส้นฟอกไต โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านหลอดเลือด  ผู้ป่วย บัตรทอง ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเส้นฟอกไต  ส่วน ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม สามารถเบิกค่าผ่าตัดเส้นฟอกไตได้ตามสิทธิ  

             4 คลินิกโรคหัวใจ  ตรวจรักษาโดย อายุรแพทย์หัวใจและหลอดเลือด

Key word

ชีวา , ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ , ศูนย์ไตเทียม , ศูนย์ฟอกไต , ไตวาย , ฟอกไตไม่เสียค่าใช้จ่าย ,  คลินิกกายภาพบำบัด , คลินิกโรคหัวใจ , คลินิกกายภาพบำบัด , ฟอกไตทางหลอดเลือด , ล้างไตทางหน้าท้อง, ทำเส้นฟอกไต , ฟอกไตบัตรทอง, คลินิกผ่าตัดเส้นฟอกไต, อัมพาต , หัวใจเต้นช้า