ผู้ป่วยหลายคน เข้าใจว่า การรักษาเบาหวาน ก็คือ การกินยาลดน้ำตาล ตามระดับน้ำตาลที่วัดได้ แต่จริงๆแล้ว การรักษาโรคเบาหวาน มิใช่ มีแค่แค่การกินยา และ เจาะเลือดดูระดับน้ำตาล ลองนึกภาพตามนะครับ เบาหวาน ก็คือ โรคที่ผู้ป่วยมี น้ำตาลในเลือดสูงน้ำตาลที่สูงนี้ก็จะไปตามกระแสเลือดทั่วร่างกาย จนหลอดเลือดทั่วร่างกายถูกทำลาย ตั้งแต่ ตา สมอง หัวใจ ไปจนถึงปลายเท้า การตรวจเพื่อเฝ้าระวังว่า ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้จากเบาหวาน ว่าจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยแล้วหรือยัง จึงเป็นสิ่งสำคัญ
ดังนั้นการรักษาเบาหวานที่ครบสมบรูณ์ จะต้อง มีการเฝ้าระวัง ป้องกัน และ จัดการ ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ด้วย
ภาวะแทรกซ้อนที่ว่านี้ก็มีตั้งแต่
อาการทางตาที่อาจจะรุนแรงถึงขั้นตาบอด จากการที่จอประสาทตาถูกทำลาย
แน่นหน้าอก หรือ น้ำท่วมปอดจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
ไตวายเรื้อรังจนต้องมาฟอกไต
ต้องตัดเท้า เพราะหลอดเลือดแดงที่ขาตีบ
อัมพาต จากหลอดเลือดสมองตีบ
ดังนั้นนอกจากการ ตรวจระดับน้ำตาลแบบอดอาหาร (FBS)แล้ว ผู้ป่วยยังต้องได้รับการตรวจ สิ่งต่างๆต่อไปนี้ อย่างสม่ำเสมอ
1 น้ำตาลสะสม A1c
ผู้ป่วยเบาหวาน ควรจะต้องได้รับการตรวจน้ำตาลสะสม ควบคู่กับ การตรวจน้ำตาลแบบอดอาหาร โดยตรวจทุก3เดือน แต่เมื่อระดับน้ำตาล ควบคุมได้ดีแล้ว ก็สามารถ ตรวจห่างขึ้นเป็น ทุก6เดือนได้
2 ตรวจหาไข่ขาว(อัลบูมิน)ในปัสสาวะ
อยากรู้ว่า ไตเริ่มมีการเสื่อมจากเบาหวาน หรือเป็นไตวายระยะแรก แล้วหรือยัง การตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต ที่เรียกว่า อัตราการ กรอง หรือ GFR อาจจะตรวจไม่พบความผิดปกติ สำหรับผู้ป่วยที่เริ่มมีไตวายในระยะแรก ซึ่งการตรวจไตวายระยะนี้ จะใช้การตรวจหา ไข่ขาว หรือ อัลบูมิน ในปัสสาวะว่า มีการรั่วออกมามากกว่าปกติหรือไม่ ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานทุกคน จึงจำเป้นต้องตรวจหา ระดับอัลบูมินในปัสสาวะตั้งแต่ ที่ทราบว่าตัวเองเป็นเบาหวาน และหลังจากนั้น จึงตรวจติดตามต่อทุก1ปีร่วมกับการตรวจเลือดดู ค่าอัตราการกรองของไต GFR แต่ในรายที่มี อัลบูมินรั่วผิดปกติแล้วก็ควรตรวจปัสสาวะบ่อยขึ้นอย่างน้อย ทุก6เดือน
3 ตรวจจอประสาทตา
ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจ จอประสาทตา โดยจักษุแพทย์ เมื่อทราบว่าผู้ป่วยเป็นเบาหวาน เมื่อตรวจแล้วพบว่าจอประสาทตาปกติ หลังจากนั้นจึงค่อยตรวจทุก 1-2ปี แต่ถ้าตรวจพบว่าจอประสาทตามีความผิดปกติ การตรวจติดตามที่บ่อยขึ้น อย่างน้อย 1ครั้งต่อปี
4 ตรวจเท้า
ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจเท้า อย่างละเอียดทุกปี ทั้งในด้านการรับรู้ถึงความร้อนเย็น, การสัมผัส, การสั่นสะเทือน เพื่อตรวจหาภาวะการเสื่อมของปลายประสาท รวมไปถึงการตรวจหา การสำรวจร่องรอยการเกิดแผลที่ฝ่าเท้า การตรวจความแรงขงชีพจรของหลอดเลือดแดงที่หลังเท้า
5 ตรวจหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มักจะเกิดควบคู่กับเบาหวาน ดังนั้นการตรวจหา โรคหลอดเลือดหัวใจจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก, เหนื่อยง่าย, น้ำท่วมปอด ไม่ว่าจะเป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, การวิ่งสายพาน หรือ การตรวจสวนหัวใจ
นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม
ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี
ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ
คลินิกกายภาพบำบัด
ศูนย์ฟอกไตประสิทธิภาพสูง และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต
ชีวา เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ ตั้งอยู่ใน ซอยกันตนา บางใหญ่ นนทบุรี
การบริการประกอบไปด้วย
ศูนย์พักฟื้น และ ดูแลผู้สูงอายุ แบบพักรายเดือน เพื่อ ดูแลทางการพยาบาล, ทำกายภาพบำบัด, รอฟอกไตทางหลอดเลือด , ดูแลการล้างไตทางหน้าท้อง
ศูนย์ฟื้นฟูอัมพาตและ คลินิกกายภาพบำบัด
ศูนย์ไตเทียม หรือศูนย์ฟอกไต โดยผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิประกันสังคม หรือ บัตรทอง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฟอกไต
คลินิกผ่าตัดเส้นฟอกไต โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านหลอดเลือด ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม สามารถเบิกได้ตามสิทธิ
คลินิกโรคหัวใจ
Key word
ชีวา , ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ , ศูนย์ไตเทียม , ศูนย์ฟอกไต , ไตวาย , ฟอกไตไม่เสียค่าใช้จ่าย , คลินิกกายภาพบำบัด , คลินิกโรคหัวใจ , คลินิกกายภาพบำบัด , ฟอกไตทางหลอดเลือด , ทำเส้นฟอกไต , ฟอกไตบัตรทอง, คลินิกผ่าตัดเส้นฟอกไต, เบาหวาน