Ep158 เป็นเบาหวาน ต้องตรวจ น้ำตาลสะสม A1C ?

หลักการรักษาเบาหวานก็คือ การควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ตลอดเวลา เพื่อให้อวัยวะในร่างกายไม่ถูกทำลายจากระดับน้ำตาลที่สูง เช่น ผู้ป่วยตาบอดจากน้ำตาลทำลายจอประสาทตา, ไตวาย, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคอัมพาต , หรือต้องตัดเท้าเพราะ หลอดเลือดแดงที่ขาตีบ ส่งผลให้ผู้ป่วยเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากขึ้น จึงเป็นเหตุที่ว่าทำไมผู้ป่วยถึงต้องตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด

การตรวจระดับน้ำตาลหลังอดอาหารมา (FBS) เป็นวิธีปฎิบัติกันมา 100กว่าปี แต่การตรวจด้วยวิธีนี้ก็ยังมีข้อจำกัด กล่าวคือ ในชีวิตจริง ระดับน้ำตาลในแต่ละช่วงเวลามีความแปรปรวน เดี๋ยวสูงเดี๋ยวต่ำตามการรับประทานอาหาร และยัง มีหลายปัจจัยที่ทำให้ระดับน้ำตาลเปลี่ยนแปลง โดยที่ไม่ได้เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เช่น การออกกำลังกาย , ความเครียด ความเจ็บป่วย หรือ แม้กระทั่งการอดนอน ทำให้ค่าของการตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลแบบนี้ เป็นการบอกแค่ ระดับน้ำตาลในเวลาที่เจาะเลือดเท่านั้น ไม่ได้สะท้อนระดับน้ำตาลในภาพรวม ผมยกตัวอย่าง เช่น ช่วงที่อยู่บ้านผู้ป่วยไม่ได้คุมอาหารเลย แต่มาเริ่มคุมอาหารเฉพาะช่วงเวลา1-2วันก่อนตรวจเลือด ค่าน้ำตาลก็จะออกมาดูไม่สูง , ในทางกลับกัน ผู้ป่วยคุมอาหาร มาดีตลอด แต่พอใกล้ถึงวันที่ต้องตรวจเลือด เกิดมีปัจจัยบางอย่างที่กระตุ้นให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้น เช่น ความเครียด, การอดนอน ก็ทำให้ค่าน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นมาได้ คล้ายกับเวลาที่เราอยากรู้ว่า คนขับรถไปต่างจังหวัดไกลๆ ขับรถเร็วไหม แต่ใช้การถ่ายภาพจับความเร็วของรถ ก็จะได้ ค่าความเร็วของรถ ณ เวลาที่ถ่ายภาพ แต่ จะไม่ทราบถึง ความเร็วโดยเฉลี่ยตลอดการขับ มีการตรวจน้ำตาลในเลือดอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า การตรวจ ระดับน้ำตาล แบบ สะสม หรือ A1C หรือ HbA1c

มารู้จัก คำว่า “น้ำตาลสะสม” กันครับ

เม็ดเลือดแดงจะมีโปรตีนชนิดหนึ่งที่สำคัญก็คือ ฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีหน้าที่จับ ออกซิเจน และอีกความสามารถหนึ่งก็คือ โปรตีนนี้ยังสามารถจับกับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย ลองนึกภาพตามนะครับ พอ ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงแล้วปล่อยเข้ามาในกระแสเลือด โปรตีนในเม็ดเลือดแดงนี้ก็จะเริ่มจับกับน้ำตาลที่อยู่ในเลือดมาเรื่อยๆ ช่วงเวลาไหน ในเลือดมีน้ำตาลเยอะ เม็ดเลือดแดงก็จับน้ำตาลเยอะ น้ำตาลที่ถูกจับก็ค่อยๆสะสม ตลอดอายุของเม็ดเลือดแดงเม็ดนั้น ยิ่งน้ำตาลไปเกาะที่เม็ดเลือดแดงมาก ค่า A1c ก็สูงตาม ดังนั้นค่าของ เปอร์เซนต์ของA1c ก็บอกถึง ในร่างกายเรามี สัดส่วนของเม็ดเลือดแดงที่มีโปรตีนที่จับกับน้ำตาล มากน้อยแค่ไหน ตั้งแต่เม็ดเลือดแดงนั้นเกิดมา ซึ่งเม็ดเลือดแดงเหล่านี้มีอายุเฉลี่ย 120วัน หรือ 4เดือน ค่าที่ออกมาจึงเป็นการสะท้อนให้เห็นภาพของ ระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงเวลา 3-4เดือนที่ผ่านมา

สรุปข้อดีของการตรวจน้ำตาลแบบสะสม

1 ค่าน้ำตาลสะสม A1c เป้นค่าน้ำตาลโดยเฉลี่ยตลอด3เดือนที่ผ่านมา ค่าที่ได้จึงสะท้อนระดับน้ำตาลในเลือดที่แท้จริงได้ดีกว่า ตรวจน้ำ้ตาลแบบอดอาหาร

2 ค่าน้ำตาลในเลือดแบบสะสม A1c สามารถใช้ พยากรณ์ การเกิดโรคในอนาคตได้ หมายความว่า ใครที่มี ค่าน้ำตาลสะสม A1c ยิ่งสูง โอกาสที่ผู้ป่วยคนนั้นจะเกิด โรคหัวใจ, โรคอัมพาต หรือ เสียชีวิต ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะที่ระดับน้ำตาลแบบอดอาหาร จะไม่สามารถนำมาใช้ในการพยากรณ์โรคได้ดีเท่า กับ น้ำตาลแบบสะสม

3 การตรวจน้ำตาลแบบสะสม A1c ไม่ต้องอดอาหาร เจาะเลือดช่วงไหนของวันก็ได้ เพราะการตรวจน้ำตาลสะสม ไม่ได้ตรวจระดับน้ำตาล แต่เป็นการตรวจดู เปอร์เซนต์ของ เม็ดเลือดแดงที่มีโปรตีนที่มี น้ำตาลเกาะอยู่

4 การตรวจน้ำตาลแบบอดอาหาร มักจะมีระดับน้ำตาลที่แปรปรวนง่าย เช่น ก่อนเจาะเลือด มีอาการเครียด, อดนอน, เจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ, อดอาหารไม่ถึง8 ชั่วโมงก่อนเจาะเลือด ภาวะเหล่านี้ก็ทำให้ระดับน้ำตาลหลังอดอาหารมาสูงได้

5 ระดับน้ำตาลแบบสะสม A1c สามารถใช้บอกสถานะผู้ป่วยได้ ตั้งแต่ ระดับไม่เป็นเบาหวาน คือ มีค่าน้อยกว่า 5.7%, มากกว่า 6.5% ก็ถือว่าเป็นเบาหวาน ส่วนใครที่มีค่าอยู่ในช่วง 5.7-6.4% ก็ถือว่า มีความเสี่ยงสูงที่จะกลายเป็นผู้ป่วยเบาหวานในอนาคต 5ปีข้างหน้า แต่ก่อนที่จะสรุปผลการวินิจฉัยโรค ควรใช้ค่าการตรวจเลือดที่มากกว่า1ครั้ง ที่ต่างวันกัน และแพทย์ก็จะใช้ผล การตรวจน้ำตาลแบบอดอาหาร(FBS) มาร่วมพิจารณาด้วย

เบาหวาน

นอกจากนี้ ระดับน้ำตาลสะสม A1c ยังใช้ติดตามการรักษาเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็นการปรับยา, การปรับพฤติกรรม โดย ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ควรมีระดับ A1c ไม่เกิน 6.5 % แต่สำหรับผู้สูงอายุ หรือ ผู้ที่เสี่ยงจะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ก็อาจจะกำหนดเป้าหมายในการรักษาต่างจากผู้ป่วยกลุ่มอื่น คือ รักษาระดับ A1c ไม่เกิน 7-8%

ต้องตรวจ A1c เมื่อไหร่ บ่อยแค่ไหน?

ในคนทั่วไปที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดเบาหวาน เช่นคนอายุมากกว่า45, อ้วน, มีพ่อแม่พี่น้องเป็นเบาหวาน, เคยเป็นเบาหวานตอนตั้งครรภ์ ถ้าผลการตรวจออกมาว่า ปกติ ก็ แนะนำตรวจ ทุก3ปี , หรือ ผลการตรวจบอกว่า กำลังจะเป็นเบาหวาน ก็ควรตรวจติดตามทุก1ปี หรือในผู้ที่เป็นเบาหวานแล้ว ตองการติดตามการรักษา ในช่วงแรกที่รักษา ควรตรวจทุก3เดือน แต่ถ้า ระดับน้ำตาลคงที่ ควบคุมได้แล้วก็ อาจจะ ตรวจห่างขึ้น เป็น 2ครั้งต่อปี

นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม

ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ

คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ล้างไตทางหน้าท้อง
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ผ่าตัดเส้นฟอกไต บัตรทอง
ผ่าตัดเส้นฟอกไตประกันสังคม

ชีวา
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดุแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ชีวา
ชีวา
ศูนย์ไตเทียม

ชีวา  เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ ตั้งอยู่ใน ซอยกันตนา  บางใหญ่ นนทบุรี    

      การบริการประกอบไปด้วย

                  ศูนย์พักฟื้น และ ดูแลผู้สูงอายุ  แบบพักรายเดือน เพื่อ ดูแลทางการพยาบาล, ทำกายภาพบำบัด, รอฟอกไตทางหลอดเลือด , ดูแลการล้างไตทางหน้าท้อง 

                 ศูนย์ฟื้นฟูอัมพาตและ คลินิกกายภาพบำบัด         

                 ศูนย์ไตเทียม หรือศูนย์ฟอกไต โดยผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิประกันสังคม หรือ บัตรทอง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฟอกไต

               คลินิกผ่าตัดเส้นฟอกไต โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านหลอดเลือด ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม สามารถเบิกได้ตามสิทธิ  

             คลินิกโรคหัวใจ 

Key word

ชีวา , ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ , ศูนย์ไตเทียม , ศูนย์ฟอกไต , ไตวาย , ฟอกไตไม่เสียค่าใช้จ่าย ,  คลินิกกายภาพบำบัด , คลินิกโรคหัวใจ , คลินิกกายภาพบำบัด , ฟอกไตทางหลอดเลือด , ทำเส้นฟอกไต , ฟอกไตบัตรทอง, คลินิกผ่าตัดเส้นฟอกไต, เบาหวาน, น้ำตาลสะสม