Ep154 ไม่อยากกินยาเยอะ ทำไงดี?

การรับประทานยา หลายๆชนิด เป็นเวลานาน ถามว่า มีอันตรายไหม? ไตจะแย่ไหม? แน่นอนครับ ยาก็เป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง ย่อมมีผลต่อร่างกายทั้งในด้านการรักษาโรคที่เกิด ในขณะเดียวกัน ยาเหล่านี้ ก็สามารถมีผลต่ออวัยวะอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับการรักษาได้ แต่อ่านแล้วก็ไม่ใช่ว่าจะต้องไปกลัวการกินยามากเกินไป เพราะ ยาแต่ละชนิด กว่าที่จะสามารถมาใช้ในมนุษย์ต้องผ่านการศึกษาทั้งในด้านประสิทธิภาพของยา ไปจนถึง อันตรายของยาที่มีต่อร่างกาย ที่เรียกว่า ผลข้างเคียงของยา จนผลกระทบเหล่านี้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ยาเหล่านี้จึงจะสามารถนำมาใช้ในมนุษย์ได้

ภาพของ การรับประทานยาหลายชนิด เราควรจะมองออกมาเป็น 2แบบ คือ มีความจำเป็น หรือ เกินความจำเป็น การใช้ยาหลายชนิด แต่เป็นการใช้ยาที่เกินความจำเป็น อันนี้ คือ ปัญหา ซึ่ง ผู้ป่วยต้องคุยกับ แพทย์ ถึงวิธีการที่จะสามารถทำให้ ผู้ป่วยใช้ยาที่เกินความจำเป็นนั้น ลดลง

3 สาเหตุที่ ผู้ป่วยต้องใช้ยาหลายๆอย่างก็เพราะว่า

  1. ใช้ยาที่รักษาตามอาการ คำว่า “รักษาตามอาการ” ต่างจาก “รักษาที่ต้นเหตุ” ผมยกตัวอย่างนะครับว่า ผู้ป่วยคนหนึ่งมาพบแพทย์ด้วย6อาการพร้อมกัน นอนไม่หลับ, เบื่ออาหาร, มึนหัว, ใจสั่น, จุกท้อง, อ่อนเพลีย หลายครั้งที่อาการเหล่านี้มาจาก สาเหตุเดียว เช่น ความเครียด กังวล ซึ่งณ เวลานั้น แพทย์อาจจะยังไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยอาจจะได้ยานอนหลับ, ยาเจริญอาหาร, ยาแก้มึนหัว,ยาแก้ใจสั่น, ยาขับลม, ยาบำรุง เห็นไหมครับ ได้ยา 6อย่างมาแล้ว ในทางกลับกัน การแก้ที่ต้นเหตุของผู้ป่วยรายนี้ ก็คือ ความเครียด ความกังวล จะเป็นวิธีไหน ก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน เช่น การปรับวิธีการคิด, การมองปัญหาในมุมที่้เป็นบวก, การเบี่ยงเบนความสนใจในตัวปัญหา, การหางานอดิเรก ถ้าอาการเหล่านี้เกิดจาก ความเครียด เมื่อความเครียดความกังวลนั้นหมดไป อาการก็ต้องหมดไป ยาก็ไม่ต้องรับประทานเลย
  2. การไม่ปรับลดพฤติกรรมเสี่ยง โรคบางอย่าง มีทั้งการรักษาด้วยวิธีการใช้ยาและวิธีการไม่ใช้ยา เช่น คนเป็น โรคเบาหวาน, ความดันสูง, ไขมันสูง เช่น ผู้ป่วยที่มีความดันที่สูง แต่ไม่ปรับเรื่องการรับประทานอาหาร, กินของเค็ม, ไม่ออกกำลังกาย, ไม่ควบคุมน้ำหนัก ปัญหาความดันที่สูง ก็ต้องอาศัยการใช้ยาเป็นหลัก เช่น ยิ่งอ้วน ยาก็ต้องยิ่งใช้เยอะขึ้น ในทางกลับกัน พอผู้ป่วยลดน้ำหนักลง การใช้ยาก็จะลดลงตามไปด้วย
  3. การใช้ยาเพราะความเชื่อ เชื่อว่า ” มียาวิเศษที่จะทำให้หายจากโรคนั้น โรคนี้” หลายคนก็หาซื้อยาแปลกๆ ทางอินเตอร์เนท จากคำบอกเล่า ผมใช้คำว่า “ยาแปลกๆ” เพราะว่า ยาเหล่านั้น ไม่ได้ผ่านการวิจัยถึงสรรพคุณ ความปลอดภัยของยา ไม่ได้มีการ รับรองยาตามมาตรฐานทางการแพทย์ อันนี้ เสี่ยงทั้งอันตรายจากยา , ไม่ได้ประโยชน์ แถม เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

มีผู้ป่วยอีกจำนวนหนึ่งที่ กลัวการกินยามากเกินไป จนปฎิเสธการใช้ยา อันนี้ก็ อันตรายมาก เพราะ อย่างที่ผมได้เล่าไว้ในข้างต้นว่า ยาแต่ละตัวที่ใช้ในโรงพยาบาล ได้ผ่านการศึกษามาอย่างดี ถึงความปลอดภัยของยา การใช้ยาภายใต้การควบคุมของแพทย์จึงมีความปลอดภัย เพียงแต่ผู้ป่วยจะมีการปรับตัว ปรับพฤติกรรมอย่างไร เพื่อช่วยให้แพทย์ ได้สามารถลดการใช้ยาบางตัวได้

นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม

ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ

คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์ฟอกไตประสิทธิภาพสูง และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต

ชีวา
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดุแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
คลินิกกายภาพบำบัด
ล้างไตทางหน้าท้อง
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ผ่าตัดเส้นฟอกไต บัตรทอง
ผ่าตัดเส้นฟอกไตประกันสังคม
ชีวา
ชีวา
ศูนย์ไตเทียม

ชีวา  เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ ตั้งอยู่ใน ซอยกันตนา  บางใหญ่ นนทบุรี    

      การบริการประกอบไปด้วย

                  ศูนย์พักฟื้น และ ดูแลผู้สูงอายุ  แบบพักรายเดือน เพื่อ ดูแลทางการพยาบาล, ทำกายภาพบำบัด, รอฟอกไตทางหลอดเลือด , ดูแลการล้างไตทางหน้าท้อง 

                 ศูนย์ฟื้นฟูอัมพาตและ คลินิกกายภาพบำบัด         

                 ศูนย์ไตเทียม หรือศูนย์ฟอกไต โดยผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิประกันสังคม หรือ บัตรทอง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฟอกไต

               คลินิกผ่าตัดเส้นฟอกไต โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านหลอดเลือด ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม สามารถเบิกได้ตามสิทธิ  

             คลินิกโรคหัวใจ 

Key word

ชีวา , ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ , ศูนย์ไตเทียม , ศูนย์ฟอกไต , ไตวาย , ฟอกไตไม่เสียค่าใช้จ่าย ,  คลินิกกายภาพบำบัด , คลินิกโรคหัวใจ , คลินิกกายภาพบำบัด , ฟอกไตทางหลอดเลือด , ทำเส้นฟอกไต , ฟอกไตบัตรทอง, คลินิกผ่าตัดเส้นฟอกไต, อัมพาต