เป็นที่ทราบกันดีว่า เบาหวาน คือ สาเหตุอันดับหนึ่งในการทำให้เกิดโรคไตวาย ผู้ป่วยเบาหวานมากกว่า 1ใน 3 จะมีโรคไตวายเรื้อรัง
ระดับน้ำตาลที่สูงกว่าปกติจะเป็นตัวทำให้ ไต ค่อยๆเสื่อมลง คำว่าไตเสื่อม คุณหมอ ก็จะใช้การตรวจเลือดดูของเสียที่คั่งค้าง ที่เรียกว่า ครีเอตินิน Creatinine แล้วนำค่าดังกล่าวนี้ มา คิดคำนวณ ออกว่าเป็นค่า โดยประมาณของ อัตราการกรองของไต หรือ eGFR ร่วมกับการตรวจ ปัสสาวะ เพื่อดู อัลบูมินในระดับไมโคร (Microalbumin)
ทีนี้ มีคำถามจากผู้ป่วยเบาหวาน หลายคนถามมาว่า …
” ตรวจเลือด ค่า GFR ต่ำลงเรื่อยๆ จากเดิม 90 ลงมา 70 หมอบอกว่า ไตกำลังเสื่อม ทำไงดี? “
ค่า GFRที่ต่ำลง อาจจะมาจากอายุที่มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไป แต่ในบทความนี้ จะเน้นที่ว่า GFR ที่แย่ลง เกิดจากไตที่เสื่อม จากเบาหวาน ยิ่งถ้าใครมีค่า GFR น้อยกว่า 60 ก็บอกว่าคนนั้นเป็นโรคไตวาย แต่ควรตรวจซ้ำห่างกัน 3เดือน ถ้าทั้งสองครั้งมีค่า GFR น้อยกว่า 60 ก็บอกว่า เป็น โรคไตวายแบบเรื้อรังแล้วครับ
ไม่อยาก ไตเสื่อม มีวิธีทำยังไงให้ ค่าGFR กลับขึ้นมาดีขึ้น ?
ก่อนอื่น ต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งก็คือ การที่ไตเสื่อม เป็นการเสื่อมที่ค่อยๆเกิด ไตค่อยๆถูกทำลาย จากน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติ กระบวนการจึงเป็นไปอย่างช้าๆ การทำให้ไตหายจากความเสื่อม จึงอาจจะเป็นไปได้ยาก แต่ ก็มีข้อมูลจากการศึกษาในปี 2013 ที่พบว่า 15%ของผู้ป่วยเบาหวานที่มี ไตเสื่อม สามารถ ทำให้ค่าGFR ดีขึ้นได้ ด้วยการทำสิ่งนี้
1.ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับที่ต้องการ คือ ค่าน้ำตาลหลังอดอาหาร (FBS) ให้อยู่ในช่วง 80-130 และ น้ำตาลสะสม (HbA1c) ไม่เกิน 6.5
2.ควบคุมระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในช่วง 120/80 ซึ่งการที่ผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลและ ระดับความดันให้อยู่ในช่วงที่พอใจก็ต้องอาศัยการรับประทานยาอย่างเคร่งครัด ร่วมกับการปรับพฤติกรรม
3.ควบคุมระดับไขมันเลว ชนิด LDL ไม่ให้สูงเกิน
LDL ระดับแค่ไหนถึงจะดี?
ระดับLDL แค่ไหนถึงจะดี? ก็ต้องดูที่ความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละคนด้วยว่า เสี่ยงที่จะเป็นโรคทางหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจ, อัมพาต หรือ ไตวาย มากน้อยแค่ไหน ในรายที่ผู้ป่วยเป็นโรคเหล่านี้แล้ว เราก็จะคุม ระดับLDL ให้ต่ำมากๆ คือต่ำกว่า 70 ไปเลย แต่ถ้าเป็นแค่เบาหวาน ยังไม่มีโรคทางหลอดเลือดเหล่านี้ การควบคุมระดับ LDL ไม่ให้เกิน 100 ก็เพียงพอ สำหรับ คนที่ไม่เป็นทั้งเบาหวานและไม่ได้เป็นโรคทางหลอดเลือดเหล่านี้ เราก็จะควบคุมระดับLDL ไม่ให้สูงเกินกว่า 130 ดังนั้น การควบคุมระดับ LDLในผู้ป่วย เบาหวาน ให้อยู่ระดับที่ไม่เกิน 100 ก็มักจะต้องอาศัยการรับประทานยาลดไขมันร่วมด้วย
4. การควบคุมอาหารที่ทำให้ไตทำงานแย่ลง โดยเฉพาะอาหารรสเค็ม อาหารแปรรูป อาหารที่สังทำตามร้าน เราจะควบคุมความเค็มไม่ได้ จึงแนะนำให้ผู้ป่วย ทำอาหารเองที่บ้าน, ลดการใช้ เครื่องปรุงเช่น เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรส ผงชูรส, งดอาหารแปรรูป เช่น กุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก ไส้อั่ว ขนมเบเกอรี แล้วก็ ไม่รับประทานขนมหรืออาหารจุกจิก ลดความอ้วน อาหารที่มีโปรตีนสูงๆก็ทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้นเช่นกัน
5. ออกกำลังกายให้พอดี คำว่า พอดี ก็คือ ไม่มากเกิน ไม่น้อยเกิน แล้วก็เหมาะสมกับสภาพร่างกาย ความชอบของแต่ละคน แต่ก็ต้องมีเป้าหมายของ ความหนักเบา คือ ออกกำลังกายด้วยการเคลื่อนไหวร่างกาย ให้นานอย่างน้อย 30นาที ในแต่ละครั้ง แล้วก็ ออกบ่อยๆ คือ อย่างน้อย 5ครั้งใน 1สัปดาห์ ตัวเลขเหล่านี้ ได้มาจากการศึกษาแล้วพบว่า คนส่วนใหญ่ที่ออกกำลังกายได้ระดับนี้ จะได้ประโยชน์ จากการออกกำลังกาย ถ้าใครไม่รู้ว่าจะออกวิธีไหน การเดิน เป็นวิธีที่ทุกคน ทำได้เลย
ถึงแม้ว่า การแก้ไข ภาวะไตที่เสื่อมให้ กลับมาทำงานปกติ อาจจะทำได้ยาก แต่แนวทางปฎิบัติทั้ง 5ข้อข้างต้น ก็ถือว่าเป็นวิถีหลักที่จะช่วยให้ไตที่กำลังเสื่อมนั้น เสื่อมช้าลง ในผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่ยังไม่เป็นเบาหวาน
นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม
ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี
ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ
คลินิกกายภาพบำบัด
ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต
นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม
ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี
ชีวา เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ ตั้งอยู่ใน ซอยกันตนา บางใหญ่ นนทบุรี
การบริการประกอบไปด้วย
ศูนย์พักฟื้น และ ดูแลผู้สูงอายุ แบบพักรายเดือน
ศูนย์ฟื้นฟูอัมพาตและ คลินิกกายภาพบำบัด
ศูนย์ไตเทียม หรือศูนย์ฟอกไต โดยผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิประกันสังคม หรือ บัตรทอง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฟอกไต
คลินิกผ่าตัดเส้นฟอกไต โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านหลอดเลือด ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม สามารถเบิกได้ตามสิทธิ
คลินิกโรคหัวใจ
Key word
ชีวา , ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ , ศูนย์ไตเทียม , ศูนย์ฟอกไต , ไตวาย , ฟอกไตไม่เสียค่าใช้จ่าย , คลินิกกายภาพบำบัด , คลินิกโรคหัวใจ , คลินิกกายภาพบำบัด , ฟอกไตทางหลอดเลือด , ทำเส้นฟอกไต , ฟอกไตบัตรทอง, คลินิกผ่าตัดเส้นฟอกไต, ไตวาย, เบาหวาน