เป็นโรคความดันสูง ไม่ต้องกินยาได้ไหม?

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

คุณเป็นโรคความดันสูงจริงหรือ?

หลายครั้งที่ผู้ป่วยวัดความดันที่ โรงพยาบาล แล้วสูง คือ ความดันโลหิต มากกว่า 140/90 มมปรอท ก็ อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าเป็นโรคความดันสูง เพราะความดันที่สูงนี้ อาจจะเป็นความดันโลหิตที่สูงชั่วคราว ไม่ได้เป็นโรคความดันสูงก็ได้ ในรายที่ ความดันโลหิตไม่ได้สูงมากจนถึงขั้นอันตราย แพทย์ก็อาจจะยังไม่ใด้เริ่มให้ ยารักษา แต่อาจจะให้ ผู้ป่วย การกลับมาวัดความดันเองที่บ้าน แล้วจดบันทึกประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อดูทิศทางของความดันโลหิตในระยะยาว ก่อนที่จะสรุป หรือ ประทับตรา ว่า ผู้ป่วยเป็นโรคความดันสูง

การรักษาโรคความดันสูงแบบไม่ใช้ยาก็มีนะ

การรักษาความดันสูง ต้องเป็นความร่วมมือระหว่าง แพทย์ กับผู้ป่วย ญาติ อย่างใกล้ชิด เพราะ การรักษาโรคความดัน มีทั้งแบบใช้ยาและแบบไม่ใช้ยา ในการรักษาแบบที่ใช้ยา ก็เป็นหน้าที่ของแพทย์ ขณะเดียวกัน แพทย์ก็จะประเมิน ปัจจัย พฤติกรรม ของผู้ป่วยที่ทำให้ ความดันสูงขึ้น เช่น เครียด, สูบบุหรี่, อ้วน, ไม่ออกกำลังกาย, กินเค็ม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ ก็คือ การรักษา ความดันสูงแบบ ไม่ต้องใช้ยา

การปรับพฤติกรรม ถือว่า เป็นการรักษาวิธีหนึ่ง เพราะว่า การปรับพฤตืกรรมเหล่านี้ สามารถ ลดระดับความดันโลหิตได้จริง อย่างยั่งยืน และที่สำคัญคือ ช่วยให้ประสิทธิภาพของยาที่ใช้ลดความดัน ดีขึ้น ผู้ป่วยหลายคน สามารถ ลดการใช้ยาได้

การปรับพฤติกรรมแบบไหนลดความดันโลหิตได้จริง

การลดน้ำหนัก

แน่นอน คนน้ำหนักน้อย ก้ต้องใช้ยาน้อยกว่าคนน้ำหนักเยอะ ดังนั้น เมื่อ ผู้ป่วยลดน้ำหนักลง การใช้ยาทั้งขนาดยาและจำนวนชนิดยาก็ลดลงด้วย แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ การที่คนเรา มี น้ำหนักเกิน คำว่าน้ำหนักแค่ไหนถึงจะเกิน คือ คำนวณแบบเร็วๆนะครับ เอาส่วนสูงของเราตั้งลบด้วย100 ก็จะเป็นน้ำหนักที่ควรจะเป็น หรือ อ้วนลงพุง คือ ผู้ใหญ่เพศชาย ที่มีรอบเอว มากกว่า40นิ้ว หรือ มากกว่า35 นิ้ว ในผู้หญิง ภาวะเหล่านี้ มีผลโดยตรง ทำให้ ต่อหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทำให้ความดันโลหิตสูง

นอกจากนี้ อ้วน ยังส่งผลต่อการนอนหลับ เช่นการนอนกรน ภาวะขาดออกซิเจนขณะหลับ Sleep apnea ส่งผลให้ความดันโลหิตทั้งในปอดและทั่วร่างกายสูงขึ้น อ้วน ยังเป็นที่มาของโรคเบาหวาน โรคไต โรคทั้งหลายที่เกิดเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ ส่งผลทำให้ความดันโลหิตสูงทั้งสิ้น ดังนั้นการลดน้ำหนัก ลดพุง จึงเป็นการรักษาความดันโลหิตที่ต้นทางวิธีหนึ่งเลย

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย เป็นการเสริมระบบประสาทที่มาควบคุมหลอดเลือดในส่วนที่ยับยั้ง(vagal tone) กล่าวคือ คนที่ออกกำลังกาย ต่อเนื่อง 3เดือนขึ้นไป ก็จะมี ชีพจรที่ช้าลง ความดันโลหิตลดลง ความดันโลหิตไม่แปรปรวนมาก

คำว่า ออกกำลังกาย ในที่นี้ มีทั้งการออกกำลังกายแบบแอโรบิค คือ การเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ หรือ การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน ที่เรียกว่า Resistance exercise สำหรับการออกกำลังกายแบบแอโรบิค สามารถทำได้เลย ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ต้องไปซื้ออุปกรณ์อะไร แค่เริ่มต้นด้วยการ เดิน เดิน แล้วก็เดิน เดินไปตลาดแทนการสั่งอาหารทางโทรศัพท์ เดินขึ้นชั้นบนแทนการใช้ลิฟท์ เดินรอบบ้าน เดินในสนามใกล้บ้าน จะเดินมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับ สมรรถภาพของผู้ป่วยแต่ละคน

เดินนานแค่ไหน ? ในช่วงแรกสำหรับคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายประจำ จะเริ่มเดินนานแค่ไหนก็ได้ เอาเท่าที่เราไหว แต่หัวใจสำคัญคือ ความมีวินัย หมายความว่า ต้องออกเดิน อย่างมีการวางแผน และต้องทำให้ได้ตามแผนที่วางไว้ เช่น วางแผนจะออกเดิน 1วันต่อสัปดาห์ ก็ต้องทำให้ได้ และต้องมีความก้าวหน้า กล่าวคือ

เคยเดินได้ 10นาที ครั้งต่อๆไปก็ควรเท่าเดิมหรือนานขึ้นจนถึง 30นาทีต่อครั้ง หรือนานกว่านี้

เคยใช้การเดินเรื่อยๆ ครั้งต่อๆไปก็อาจจะเดินเร์ว หรือ เดินสลับวิ่ง

เคยเดิน1ครั้งสัปดาห์ ก็ค่อยๆเพิ่มความถี่ ขึ้นเป็น 2-3-4-5 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือจะเดินทุกวันก็ไม่ผิดอะไร

การมีวินัยหรือมีความ ก้าวหน้าในการเดิน ต่อเนื่อง 3เดือน มีผลทำให้ความดันโลหิตลดลงมาได้

ลดอาหารเค็ม

เกลือ คือ ส่วนประกอบที่สำคัญในอาหารของคนเรา ทั้งช่วยเพิ่มรสชาติ ถนอมอาหาร เกลือ หรือ โซเดียม มีความสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ในร่างกาย

เกลือในร่างกายมากเกินจะเกิดอะไรขึ้น?

1.ไตวาย ก่อนเวลาอันควร การรับประทานอาหารที่มีเกลือเข้าไปมากเกินความต้องการ ไตก็จะขับเกลือ ออกทางปัสสาวะ ไตจึงต้องทำงานหนัก มีการศึกษา พบว่า อาหารที่มีเกลือ มากเกิน ก่อให้เกิดไตวายตามมา

2. ความดันโลหิตสูง เมื่อไต ขับเกลือที่มีมากเกินไปไม่ทัน ปริมาณเกลือที่มากเกิน ก็จะดึงน้ำเข้ามาในกระแสเลือดมากขึ้น ปริมาณเลือดในหลอดเลือด จึงมากขึ้น ความดันในหลอดเลือดจึงสูงขึ้นตาม เกิดความดันสูงตามมา

3.น้ำท่วมปอด เมื่อเกลือที่มากเกิน ดึงน้ำให้เข้ามาอยู่ในหลอดเลือดมากขึ้น โดยเฉพาะที่หลอดเลือดฝอยในถุงลมที่ปอด จนน้ำรั่วเข้าไปในถุงลม จนคนไข้เกิดอาการหอบ บวม นอนราบไม่ได้ ที่เรียกว่า น้ำท่วมปอด โดยจะเกิดใน ผู้ป่วยที่มี โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือ โรคไตวายร่วมด้วย

หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือสูง

ลดอาหารแปรรูปหรือใช้เกลือถนอมอาหาร เช่น อาหารกระป๋อง, อาหารหมักดอง, อาหารตากเค็ม เช่น ปลาเค็ม, ผักผลไม้ดอง, ปลาร้า

ลดการใช้เครื่องปรุงที่มีเกลือสูง เช่น เกลือปรุงอาหาร, น้ำปลา, ซอสปรุงรส, ผงชูรส

ขนมใช้ผงฟู เช่น คุกกี้, ขนมปัง, เคัก, แพนเค็ก

อาหารกึงสำเร็จรูป เช่น บะหมี่, โจ๊ก, ขนมกรุบกรอบ

นพ.วิโรจน์ ตันติโกสุม

ชีวา บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์พักฟื้นผู้ป่วย และ ผู้สูงอายุ

คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์ฟอกไตประสิทธิภาพสูง และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต

ชีวา
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดุแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
คลินิกกายภาพบำบัด
ล้างไตทางหน้าท้อง
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ผ่าตัดเส้นฟอกไต บัตรทอง
ผ่าตัดเส้นฟอกไตประกันสังคม

เวปไซด์ ชีวา www.chewa.co.th

เดินทางมา ชีวา  https://goo.gl/maps/CgcGgE6uieUn1naM9

คุยกับเรา ชีวา   https://lin.ee/k8UqBKr

ชีวา  เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ ตั้งอยู่ใน ซอยกันตนา  บางใหญ่ นนทบุรี    

      การบริการประกอบไปด้วย

                  ศูนย์พักฟื้น และ ดูแลผู้สูงอายุ  แบบพักรายเดือน เพื่อ ดูแลทางการพยาบาล, ทำกายภาพบำบัด, รอฟอกไตทางหลอดเลือด , ดูแลการล้างไตทางหน้าท้อง 

                 ศูนย์ฟื้นฟูอัมพาตและ คลินิกกายภาพบำบัด         

                 ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต  โดยผู้ป่วยที่ใช้สิทธิประกันสังคม หรือ บัตรทอง ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการฟอกไตได้     ส่วนการผ่าตัดเส้นฟอกไต โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านหลอดเลือด  ผู้ป่วย บัตรทอง ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการทำเส้นฟอกไต  ส่วน ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม สามารถเบิกค่าผ่าตัดได้ตามสิทธิ  

             คลินิกโรคหัวใจ 

Key word

ชีวา , ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ , ศูนย์ไตเทียม , ศูนย์ฟอกไต , ไตวาย , ฟอกไตไม่เสียค่าใช้จ่าย ,  คลินิกกายภาพบำบัด , คลินิกโรคหัวใจ , คลินิกกายภาพบำบัด , ฟอกไตทางหลอดเลือด , ล้างไตทางหน้าท้อง, ทำเส้นฟอกไต , ฟอกไตบัตรทอง, คลินิกผ่าตัดเส้นฟอกไต, อัมพาต