ปริมาณพลังงานและโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

นพ.ธนพันธ์  ธิติวิเชียรเลิศ

อายุรแพทยโรคไต ศูนย์ไตเทียม ชีวา

ภาวะไตวายเรื้อรัง(chronic kidney disease, CKD) หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยมีค่าการทำงานของไต(eGFR)น้อยกว่า 60 มม./นาที/1.73ตารางเมตร ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเกิน 3 เดือน หรือมีภาวะไตผิดปกติ เช่น ตรวจพบอัลบูมินในปัสสาวะ ตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ มีความผิดปกติทางรังสีวิทยา หรือได้รับการปลูกถ่ายไต ติดต่อกันเกิน 3 เดือน  โดยมีการแบ่งระยะของโรค ดังนี้

ตารางที 1: ตารางแสดงระยะของโรคไตวายเรื้อรัง

ระยะของ โรคไตเรื้อรัง (CKD stage) eGFR (มม./นาที/1.73ตารางเมตร)
ระยะที่ 1 มากกว่าเท่ากับ  90
ระยะที่ 2 60-89
ระยะที่ 3a 45-59
ระยะที่ 3b 30-44
ระยะที่ 4 15-29
ระยะที่ 5 น้อยกว่า 15

ซึ่งภาวะไตวายเรื้อรังนี้ส่งผลต่อกระบวนการเผาผลาญสมดุลพลังงานและโปรตีนของร่างกาย สมดุลกรดด่าง และสมดุลฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย โดยปัญหาสำคัญของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังคือ การควบคุมภาวะโภชนาการทั้งในด้านของโรคไตเอง และโรคประจำตัวอื่นๆ ของผู้ป่วย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

            ภาวะขาดพลังงานหรือภาวะทุพโภชนาการสามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญ ที่ต้องใช้ความร่วมมือกันระหว่างแพทย์ ผู้ป่วย พยาบาล  นักโภชนาการ รวมถึงผู้ดูแล เพื่อความเข้าใจและเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ป่วย

พลังงานสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

            พลังงานต่อวันที่ผู้ป่วยได้รับมีความสำคัญสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังทุกคน หากเรารับประทาน

อาหารน้อยเกินไป จะทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ(malnutrition)  หรือหากเรารับประทานอาหารจน

ได้พลังงานเยอะเกินไป จะเกิดภาวะน้ำหนักเกินได้ ซึ่งทั้งสองภาวะนี้ส่งผลเสียต่อไตทั้งคู่

จากคำแนะนำแนวทางเวชปฏิบัติโภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไตในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2561 ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะ 3 ถึงระยะที่ 5 ที่มีอาการคงที่

  • อายุน้อยกว่า 60 ปี ควรได้รับพลังงาน 35 กิโลแคลอรี/น้ำหนักตัวในอุดมคติ/วัน
  • อายุมากกว่า 60 ปี ควรได้รับพลังงาน 30-35 กิโลแคลอรี/น้ำหนักตัวในอุดมคติ/วัน
  • ผู้ป่วยที่อาการคงที่หมายถึง ไม่มีภาวะติดเชื้อ ไม่มีทานอาหารไม่ได้ได้หรือทานได้น้อยใน2สัปดาห์ ไม่ได้นอนโรงพยาบาล ไม่ได้ยากดภูมิหรือยาฆ่าเชื้อ

โดยน้ำหนักในอุดมคติคิดจาก

  • เพศชาย = ความสูง(ซ.ม.) – 100
  • เพศหญิง = ความสูง(ซ.ม.) – 105

เหตุผลที่ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ต้องการพลังงานน้อยกว่า เนื่องจากผู้ป่วยสูงอายุจะมีกิจกรรมในแต่ละวันน้อยกว่า ส่วนใหญ่อาจมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง จึงมีความต้องการพลังงานน้อยกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมทางกิจกรรมของผู้ป่วยเป็นรายๆไป

โปรตีนสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

            ปริมาณโปรตีนมีความสำคัญมากในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง หากเรารับประทานโปรตีนที่มากเกินไปจะทำให้ระดีบของยูเรียสูงขึ้น ส่งผลทำให้เซลล์ที่ผนังหลอดเลือดทำงานผิดปกติไป ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต นอกจากนี้ ยูเรียในเลือดที่สูงทำให้ผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดง คือ คลื่นไส้ อาเจียน ไม่อยากทานอาหาร หรือแสดง อาการที่รุนแรงคือระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไป  จากการศึกษาในอดีต การรับประทานโปรตีนที่พอดีหรือค่อนต่ำ(low protein diet)ส่งผลทำให้หลอดเลือดขาเข้าไต(afferent arteriole)หดตัว หลอดเลือดขาออกไต(efferent arteriole)ขยายตัว ซึ่งจะทำให้ความดันภายในหน่วยกรองไตลดลง(intraglomerular pressure) ทำให้สามารถชะลอไตเสื่อมได้

รูปที่ 1 :หน่วยกรองไตและเส้นเลือด

ไตวาย

            ดังนั้นคำแนะนำแนวทางเวชปฏิบัติโภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไตในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2561จำแนะนำว่า ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ยังไม่ได้บำบัดทดแทนไต ควรได้รับอาหารที่มีโปรตีนต่ำ และเป็นโปรตีนคุณภาพสูงที่มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน ดังนี้

  • ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในระยะ 3b ถึง 5 ที่ยังไม่ได้บำบัดทดแทนไต ควรได้รับโปรตีน 0.6 – 0.8 กรัม/น้ำหนักตัวอุดมคติ/วัน
  • ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในระยะ 4 และ 5  ที่ยังไม่ได้บำบัดทดแทนไต ควรได้รับโปรตีนน้อยกว่า 0.4 กรัม/น้ำหนักตัวอุดมคติ/วัน ร่วมกับการให้คู่เหมือนของกรดอะมิโน(keto analogue) ซึ่งสามารถชะลอไตเสื่อมและลดระดับยูเรียในเลือดได้   

โปรตีนที่มีคุณภาพสูงคืออะไร?

            ในทางการแพทย์จะประเมินตุณภาพของโปรตีนโดยใช้คุณค่าทางชีวภาพของโปรตีน(biological value) ซึ่งโปรตีนที่มีคุณค่าทางชีวภาพสูง หมายถึง โปรตีนที่มีชนิดและปริมาณกรดอะมิโนเพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ และทำให้ร่างการสามารถดูดซึมเพื่อสามารถนำไปใช้ได้ทั้งหมด โดยตัวอย่างของโปรตีนมีคุณค่าทางชีวภาพสูง คือ ไข่ นม ปลา ธัญพืช

การวัดปริมาณโปรตีนที่รับประทานในแต่ละวัน

          วิธีการง่ายๆที่เราจะทราบว่าเรารับประทานโปรตีนไปแล้วกี่กรัมสำหรับบุคลทั่วไปปรับใช้ได้คือ การใช้อาหารแลกเปลี่ยน อาการแลกเปลี่ยน หมายถึง การแบ่งอาหารออกเป็นหมวดหมู่ในแต่ละหมวดให้พลังงานและสารอาหารใกล้เคียงกันเพื่อใช้ในการคำนวณและกำหนดอาหารแล้วนำไปคำนวณเป็นปริมาณ

ศูนย์ไตเทียม

การดูรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังนั้นมีหลายอย่าง เช่น การรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน หลีกเลี่ยงสมุนไพรและยาแก้ปวด การดูแลภาวะซีด การดูแลตวามดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงการควบคุมอาหาร

จากข้อมูลทางด้านพลังงานและโปรตีนที่ผู้ป่วยไตวายเรื้องรังควรได้รับ เป็นอีกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้องรังเพื่อชะลอความเสื่อมของไต ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือกันทั้งทางแพทย์ พยาบาล ผู้ป่วย และผู้ดูแล เพื่อการรักษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดควบคู่ไปกับการใช้ยาแผนปัจจุบัน ทำให้ผู้ป่วยสามารถชะลอความเสื่อมของไตได้และเข้าสู่การบำบัดทดแทนไตได้ช้าที่สุด

เอกสารอ้างอิง
1. คำแนะนำแนวทางเวชปฏิบัติโภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไตในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2561 สมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย  ฉบับปรับปรุงครั้งที่1 มีนาคม 2563
2. Kamya Kalanta, et al. nutrition management of chronic kidney diaease, the new England journal of medicine, November 2 2017.
3. คู่มืออาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน กลุ่มงานโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี

ศูนย์ไตเทียม ชีวา

บางใหญ่ นนทบุรี

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ศูนย์ไตเทียม
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

เวปไซด์ ชีวา www.chewa.co.th

เดินทางมา ชีวา  https://goo.gl/maps/CgcGgE6uieUn1naM9

คุยกับเรา ชีวา   https://lin.ee/k8UqBKr

ชีวา  เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ ตั้งอยู่ใน ซอยกันตนา  ใกล้ โรงพยาบาลบางใหญ่  บางใหญ่ นนทบุรี    

      การบริการประกอบไปด้วย

                  ศูนย์พักฟื้น และ ดูแลผู้สูงอายุ  แบบพักรายเดือน เพื่อ ดูแลทางการพยาบาล, ทำกายภาพบำบัด, รอฟอกไตทางหลอดเลือด , ดูแลการล้างไตทางหน้าท้อง 

                 ศูนย์ฟื้นฟูอัมพาตและ คลินิกกายภาพบำบัด         

                 ศูนย์ไตเทียม และ ผ่าตัดเส้นฟอกไต  โดยผู้ป่วยที่ใช้สิทธิประกันสังคม หรือ บัตรทอง ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการฟอกไตได้     ส่วนการผ่าตัดเส้นฟอกไต โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านหลอดเลือด  ผู้ป่วย บัตรทอง ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการทำเส้นฟอกไต  ส่วน ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม สามารถเบิกค่าผ่าตัดได้ตามสิทธิ  

             คลินิกโรคหัวใจ 

Key word

ชีวา , ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ , ศูนย์ไตเทียม , ศูนย์ฟอกไต , ไตวาย , ฟอกไตไม่เสียค่าใช้จ่าย ,  คลินิกกายภาพบำบัด , คลินิกโรคหัวใจ , คลินิกกายภาพบำบัด , ฟอกไตทางหลอดเลือด , ล้างไตทางหน้าท้อง, ทำเส้นฟอกไต , ฟอกไตบัตรทอง, คลินิกผ่าตัดเส้นฟอกไต, อัมพาต